Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8926
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินาฏ ลีดส์th_TH
dc.contributor.authorนรวลัย ขุนไกร, 2507-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-16T08:00:54Z-
dc.date.available2023-08-16T08:00:54Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8926en_US
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระเรื่องการคุ้มครองพยานบุคคลในการสืบสวนสอบสวนของคณกรรมการการเลือกตั้งการเลือกตั้ง มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานบุคคล 2) เพื่อวิเคราะห์มาตรการคุ้มครองพยานบุคคล 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการคุ้มครองพยานบุคคลตาม กฎหมายไทยและกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อหาแนวทางคุ้มครองพยานบุคคลของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เหมาะสม การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้า รวมรวม ข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการจากเอกสาร นิตยสารทางกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลจากเว็บไซต์ (website) ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ท (Internet) ซึ่งผู้ศึกษามั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ จากการค้นคว้าเป็นข้อมูลที่แท้จริง และถูกด้องน่าเชื่อถือไต้ ผลการศึกษาพบว่า แม้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมาตรการคุ้มครองพยาน โดยการจัดตั้ง คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 ตามมาตรา 15(4) มาบังคับใช้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใดอีกทั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่เคยร้องขอต่อหน่วยงานคุ้มครองพยานหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงเพื่อนำ มาตรการคุ้มครองพยานมาบังคับใช้ เพื่อให้การทำงานขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิผล โดยที่พยานมิด้องเกรง กลัวด้วยประการทั้งปวง ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้ 1) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งข้อมาตรการ คุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ. 2546 ทั้งการคุ้มครองพยานตามมาตรการ ทั้วไป และการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ 2) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องขอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน เพื่อให้ครอบคลุมตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 8 3) คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสื่อให้ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเห็นว่าคดีเลือกตั้งมีความสำคัญ 4) มีมาตรการลงโทษ เจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำการทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์ กรณีนำข้อมูลความลับเกี่ยวกับพยานบุคคลในสำนวน การสืบสวนสอบสวนไปให้กับผู้มีอิทธิพล ดังนั้น จึงควรมีมาตรการคุ้มครองพยานบุคคลในการสืบสวน สอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพยานบุคคล--การคุ้มครองth_TH
dc.subjectการสืบสวนth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม.th_TH
dc.titleการคุ้มครองพยานบุคคลในการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งth_TH
dc.title.alternativeProtection of witnesses on investigations of election committeeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of independent study on the topic of the Protection of Witnesses on Investigation of Electoral Commission are: 1) to study the concept of witness protection; 2) analysis the measures of witness protection; 3) to compare legal analysis of the protection of witnesses in Thailand and foreign countries; 4) to find ways to protect witnesses of the Election Commission. This independent study is a qualitative research by studying textbooks and law journals, information from websites and internet networks. The study found that the Election Commission has taken the measures to protect witnesses by establishing the Information Commission Office of the Election Commission under the Official Information Act 2540 under Section 15 (4). However, it was not successful at all. In this regards, the Election Commission did not ask the witness protection agency or any agency that have direct responsibility for witness protection measures to serve this purpose. Therefore, this study desires the protection are as follows: 1) the Election should protect the witness by the Witness Protection Act 2546. 2) the Election Commission should file a petition to the Minister of Justice for special measures to protect under the Witness Protection Act 2546 Section 8; 3) the Election Commission should report these activities to the Board of Disclosure of Information; and 4) to punish officials who do fraud or exploitation of the secret witness in the investigation. Therefore, it should be desired of the measures to protect the witnesses in investigation of the Election Commission.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_144752.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons