Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8926
Title: | การคุ้มครองพยานบุคคลในการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง |
Other Titles: | Protection of witnesses on investigations of election committee |
Authors: | ชนินาฏ ลีดส์ นรวลัย ขุนไกร, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี พยานบุคคล--การคุ้มครอง การสืบสวน การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม. |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การค้นคว้าอิสระเรื่องการคุ้มครองพยานบุคคลในการสืบสวนสอบสวนของคณกรรมการการเลือกตั้งการเลือกตั้ง มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองพยานบุคคล 2) เพื่อวิเคราะห์มาตรการคุ้มครองพยานบุคคล 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการคุ้มครองพยานบุคคลตาม กฎหมายไทยและกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อหาแนวทางคุ้มครองพยานบุคคลของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เหมาะสม การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้า รวมรวม ข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการจากเอกสาร นิตยสารทางกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลจากเว็บไซต์ (website) ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ท (Internet) ซึ่งผู้ศึกษามั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ จากการค้นคว้าเป็นข้อมูลที่แท้จริง และถูกด้องน่าเชื่อถือไต้ ผลการศึกษาพบว่า แม้คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมาตรการคุ้มครองพยาน โดยการจัดตั้ง คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 ตามมาตรา 15(4) มาบังคับใช้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใดอีกทั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่เคยร้องขอต่อหน่วยงานคุ้มครองพยานหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงเพื่อนำ มาตรการคุ้มครองพยานมาบังคับใช้ เพื่อให้การทำงานขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิผล โดยที่พยานมิด้องเกรง กลัวด้วยประการทั้งปวง ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางแก้ไขไว้ดังนี้ 1) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งข้อมาตรการ คุ้มครองพยานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ. 2546 ทั้งการคุ้มครองพยานตามมาตรการ ทั้วไป และการคุ้มครองพยานตามมาตรการพิเศษ 2) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องขอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน เพื่อให้ครอบคลุมตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 มาตรา 8 3) คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสื่อให้ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเห็นว่าคดีเลือกตั้งมีความสำคัญ 4) มีมาตรการลงโทษ เจ้าหน้าที่ผู้ที่ทำการทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์ กรณีนำข้อมูลความลับเกี่ยวกับพยานบุคคลในสำนวน การสืบสวนสอบสวนไปให้กับผู้มีอิทธิพล ดังนั้น จึงควรมีมาตรการคุ้มครองพยานบุคคลในการสืบสวน สอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8926 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_144752.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License