กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8928
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems in determining unfair wages of persons who brings the work to do at home
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปวีณา เกิดทองทวี, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าจ้าง--ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
ผู้รับงานไปทำที่บ้าน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัญหาทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรมของผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา ความหมาย รูปแบบ และลักษณะงาน เกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านของผู้รับงานไปทำที่บ้านตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.2553 2) เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับค่าตอบแทน และอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรม 3) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน 4) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการคุ้มครอง แรงงานเกี่ยวกับค่าตอบแทนและอัตราค่าจ้างที่เป็นธรรมของผู้รับงานไปทำที่บ้านใบ้มีความชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทางปฏิบัติ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษา ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี จากตำรา วารสาร บทความ จุลสารวิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต และจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาของผู้รับงานไปทำที่บ้านเรื่องค่าตอบแทน ได้แก่ การได้รับค่าตอบแทนต่ำเกินไปล่าช้า โดยความช่วยเหลือที่ผู้รับงานฯ ต้องการมากที่สุด คือการหางานให้ทำอย่างต่อเนื่อง รองลงมา คือ ต้องการให้คุ้มครองเรื่องอัตราค่าตอบแทน ดังนั้น ศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ต้องการให้มี (1) หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน (2) การจัดตั้งสมาคมการรับงานไปทำที่บ้านทั้งฝ่ายผู้จ้างงานและผู้รับงานไป ทำที่บ้าน (3) การกำหนดลักษณะและประเภทงานที่รับไปทำที่บ้าน (4) หลักเกณฑ์ประกอบการการ พิจารณาอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน (5) ระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงประกาศคำสั่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_144823.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons