กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8959
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a test to measure thinking ability on solving natural resource and environment conservation problems of Prathom Suksa VI Students under the Office of Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกสร สุนทรวัฒน์, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
แบบทดสอบ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 500 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่กำหนดสถานการณ์ให้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเที่ยง ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย ด้านการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม ด้านการใช้นํ้า ด้านการใช้ป่าไม้ ด้านการใช้สัตว์ป่า และ ด้านการใช้แร่ธาตุซึ่งเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่กำหนดสถานการณ์ให้ จำนวน 40 ข้อ และ (2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีความตรงตามเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ความยากอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.76 อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.60 และความเที่ยงมีค่าเท่ากับ 0.91
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8959
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151584.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons