Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8967
Title: | ประสบการณ์ด้านจิตใจของมารดาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต |
Other Titles: | Psychological experiences of mothers having a child patient with acute Leukemia who received Hematopoietic Stem Cell Transplantation |
Authors: | สุขอรุณ วงษ์ทิม ประณยา โยธาประเสริฐ, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิรนาท แสนสา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ ผู้ป่วยเด็ก--การดูแล--แง่จิตวิทยา มารดาและบุตร--ความสัมพันธ์ในครอบครัว |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของมารดาผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นมารดาที่พาบุตรมารับการตรวจติดตามผลการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ที่มีประสบการณ์ในการดูแลบุตรตั้งแต่เริ่มเจ็บป่วย จนกระทั่งได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต จำนวน 13 คน แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการใช้เครื่องบันทึกเสียง ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2558 ถึง 30 มิถุนายน 2558 นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยปรากฏว่า สภาพจิตใจของมารดามีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบไปด้วย ความวิตกกังวล ความเครียด และความทุกข์ใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการทางด้านร่างกายและสภาพจิตใจของบุตร ขั้นตอนการรักษา และผลกระทบอื่นๆ สภาพจิตใจของมารดาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะเริ่มต้นเผชิญกับการเจ็บป่วยของบุตร ประกอบด้วย ความวิตกกังวล ความเครียด ความทุกข์ใจจากอาการแทรกซ้อนของเคมีบำบัด การใช้สิทธิ์การรักษา ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย การย้ายที่อยู่ และปัญหาเรื่องงาน (2) ระยะเตรียมการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของบุตร ประกอบด้วยความวิตกกังวลจากปัญหาร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นกับบุตร แต่ก็ยังมีความรู้สึกเชื่อมั่นในการรักษาของแพทย์ และมีความต้องการที่จะให้บุตรได้รับการปลูกถ่ายฯ (3) ระยะการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของบุตร ประกอบด้วย ความวิตกกังวล ความเครียด และความทุกข์ใจที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน ของเคมีบำบัดและอาการต้านเซลล์ของบุตร และ (4) ระยะหลังการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของบุตร ประกอบด้วยความวิตกกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อ ส่งผลให้มารดามีการดูแลบุตรอย่างดีและเข้มงวด วิธีการเผชิญปัญหาของมารดาในแต่ละระยะพบว่า มีการใช้ศาสนาเป็นเครื่องเยียวยาด้านจิตใจ การใช้แนวคิดเชิงบวก การมีความหวัง และกำลังใจที่ได้รับจากบุคคลรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มารดาสามารถผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ได้ สภาพจิตใจของมารดาต่อผลการปลูกถ่ายฯ ของบุตร มีทั้งผู้ที่มีความสุขสมหวัง และผู้ที่ทุกข์ทรมานใจ จากประสบการณ์เหล่านี้ทำให้มารดามีความตั้งใจที่จะกระทำความดี และปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8967 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152074.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License