Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorดวงเดือน พินสุวรรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวสุรัตน์ รอดโรคา, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-22T02:06:22Z-
dc.date.available2023-08-22T02:06:22Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8994-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบางปลาม้า “สูงสุมารผดุงวิทย์” จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 92 คน จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วจับฉลากให้ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ เรื่องปิโตรเลียม แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ เรื่อง ปิโตรเลียม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ปิโตรเลียม มีค่าความเที่ยง 0.78 และแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความเที่ยง 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ สูงกว่าของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2016.49en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้th_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนth_TH
dc.titleผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ผนวกเทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุพรรณบุรีth_TH
dc.title.alternativeEffects of using the inquiry method integrated with the six hats thinking technique on basic science learning achievement and analytical thinking ability of Mathayom Suksa V students in Suphan Buri Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to compare science learning achievement of Mathayom Suksa V students learning under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method with that of students learning under the conventional teaching method; (2) to compare analytical thinking ability of Mathayom Suksa V students learning under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method with that of students learning under the conventional teaching method; (3) to compare the pre-learning and post-learning analytical thinking abilities of Mathayom Suksa V students learning under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method. The sample consisted of 92 Mathayom Suksa V students in two intact classrooms at Bang Plama Soongsumarnphadungwit School in Suphan Buri Province, obtained by cluster random sampling. One of the classes was randomly assigned as the experimental group to learn under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method; the other class was randomly assigned as the control group to learn under the conventional teaching method. The employed research instruments were learning management plans on the topic of Petroleum under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method; a science learning achievement test on the topic of Petroleum, with reliability coefficient of 0.78; an analytical thinking ability assessment scale, with reliability coefficients of 0.75. Statistics for data analysis were the mean, standard deviation, and t-test. The research findings were (1) the science learning achievement of Mathayom Suksa V students learning under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method was significantly higher than that of students learning under the conventional teaching method at the .05 level; (2) the analytical thinking ability of Mathayom Suksa V students learning under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method was significantly higher than the counterpart ability of students learning under the conventional teaching method at the .05 level; (3) the post-learning analytical thinking ability of Mathayom Suksa V students learning under the inquiry method integrated with the six thinking hats technique method was significantly higher than their pre-learning counterpart at the .05 levelen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154678.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons