Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9002
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก |
Other Titles: | People's participation in the preparation for announcing Lam Nam Kok National Park designation |
Authors: | พนมพัทธ์ สมิตานนท์ พิทยา สะศรีสังข์ 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก.--การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก (3) ศึกษาทัศคติของประชาชนต่อการเตรียมการประกาศพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย เพศ อายุชาติพันธุ์ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานในชุมชน ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ระดับทัศนคติ ของประชาชนในการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก และ (3) ทัศคติของประชาชนต่อการเตรียมการประกาศพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก พบว่าชุมชนมีทัศนคติในการจัดการพื้นที่การเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกกในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ 1) เจ้าหน้าที่มีความรอบรู้ในกฎ ระเบียบ และความถูกต้อง แม่นยำ ในการทำงาน 2) เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน 3) เจ้าหน้าที่มีการแต่งกายที่สุภาพและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน สำหรับข้อเสนอแนะต่อการประกาศอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก พบว่า อยากให้จัดเจ้าหน้าที่ เข้ามาประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การป้องกันและควบคุมไฟป่า ในชุมชนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง กลับมาส่งเสริมให้ราษฎรที่เป็นเจ้าของพื้นที่ที่ถูกทวงคืนเดิมดูแลโดยการสนับสนุน ให้ปลูกไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9002 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
168540.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License