Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9009
Title: การประเมินการใช้และประสิทธิผลของการประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
Other Titles: Assessment of utilization and effectiveness of assessment for learning practices by Prathom Suksa VI Mathematics teachers in Chiang Mai Primary Education Service Area 3.
Authors: นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราณี พรมพันธ์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ครูคณิตศาสตร์ -- ภาระงาน
การประเมินผลงาน
การเรียนรู้
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของ ครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) ประเมินผลการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้การประเมินเพื่อ การเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 157 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 785 คน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ปีการศึกษา 2557 โดยเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ในภาพรวมมีการใช้อยู่ในระดับน้อย (2) ผลการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิผล คือ สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) แนวทางการส่งเสริมการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ คือ ควรพัฒนาความรู้และศักยภาพการใช้การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของครู
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9009
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154701.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons