Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/900
Title: การอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำน้ำตาลโตนด : กรณีศึกษาบ้านแหลมวัง จังหวัดสงขลา
Other Titles: Conservation of the local wisdom about palm sugar production : a case study of Bab Laem-Wang in Songkhla Province
Authors: สุดจิต เจนนพกาญจน์
สุวัฒน์ เรืองศิลป์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์
ประชิด วามานนท์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย
ตาลโตนด
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประวัติ และพัฒนาการของการทำนาตาลโตนด และการประกอบอาชีพตั้งแต่อดีต- ปัจจุบัน (2) ศึกษาภูมิปัญญาชาวบัานในการทำน้ำตาลโตนด (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการทำน้ำตาลโตนด และการประกอบอาชีพ (4) ศึกษาแนวโน้มอาชีพการทำน้ำตาลโตนด วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คึอ ผู้รู้และผู้นำในหมู่บ้าน 5 คน เจ้าหน้าที่การเกษตร 2 คน เกษตรกรตาลโตนด 2 คน ผู้ประกอบอาชีพทำน้ำตาลโตนด 5 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน โดยใช้วิธีการดำเนินวิจัยจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกต แล้วอธิบายผลการวิจัยในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า (1) ต้นตาลโตนด มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ทางตอนใต้ของทวิปเอเชีย มีพัฒนาการในการทำน้ำตาลโตนด แบ่งเป็น 4 สมัย ได้แก่ สมัยสุโขทัยมีการทำตาลโตนดแล้วแต่ไม่ได้แพร่หลาย สมัยอยุธยานั้าตาลทรายแดงจากอ้อยเริ่มเข้ามาเป็นสินค้าสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการผลิตน้ำตาลจากอ้อยและเติบโตอย่างรวดเร็วมีการส่งเป็นสินค้าไปจำหน่ายไปยังต่างประเทศและสมัยปัจจุบันหรือรัชกาลที่ 9 น้ำตาลทรายแพร่หลายจนกระทั้งน้ำตาลโตนดเสื่อมความนิยมลง ส่วนในบ้านแหลมวังมีการทำนั้าตาลโตนดทั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ (2) ภูมิปัญญาในการทำน้ำตาลโตนด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำกันมาช้านานประกอบด้วยภูมิปัญญาการเลือกต้นตาล และพาดตาล ภูมิปัญญาการคาบตาล ภูมิปัญญาการแช่งวงตาล และการปาดตาลภูมิปัญญาในการรองน้ำตาล ภูมิปัญญาการทำเตาเคี่ยวตาล ภูมิปัญญาการเคี่ยวน้ำตาล และภูมิปัญญาที่เป็นผลพลอยได้จากต้นตาลโตนดและการทำน้ำตาลโตนดวิธีการอนุรักษ์ภาครัฐควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสืบทอดเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนสนับสนุนผลิตภัณท์และสรรหาบุคคลทางด้านภูมิปัญญา (3) ปัญหาและอุปสรรคในการทำน้ำตาลโตนดของบ้านแหลมวังมีปัญหาต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ปัญหาการแพร่หลายของน้ำตาลทรายที่เข้ามามีบทบาท ประกอบกับปัญหาการทำน้ำตาลโตนดไม่ได้ตลอดทั้งปื เนื่องจากการทำน้ำตาลโตนดตรงกับฤดูกาลทำนาและที่สำคัญปัญหาการไม่สามารถรวมกลุ่มประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนด (4) แนวโน้มในการประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนดในอนาคต จะลดน้อยลงหรืออาจเลิกประกอบอาชีพนี้ไป เนึ่องจากขาดการส่งเสริมจากภาครัฐและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ตลอดจนคนรุ่นใหม่ไม่ได้นิยมประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนด เพราะคิดว่ามีความเสี่ยงและเป็นอันตรายจากการปีนต้นตาล
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/900
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (3).pdfเอกสารฉบับเต็ม13.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons