กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9025
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงที่มีต่อความสามารถทางการแข่งขันของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relation of elements of a high performance organization to employees' competitiveness at Provincial Waterworks Authority Region 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิมพ์ใจ ญาณชาญปรีชา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2--พนักงาน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสามารถทางการแข่งขันของพนักงาน การประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 (2) ศึกษาองค์ประกอบขององค์การสมรรถนะสูงของการประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 (3) เปรียบเทียบความสามารถทางการแข่งขันของพนักงาน การประปาส่วนภูมิภาค เขต 2 โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล (4) ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบองค์การ สมรรถนะสูงที่มีต่อระดับความสามารถของการแข่งขันของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค เขต 2 วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรคือ พนักงานการประปาส่วนภูมิภาค เขต 2 กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ที่ใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัยได้แก่ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบแบบ แอลเอสดี และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบ เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสามารถทางการแข่งขันของพนักงานในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยทางสถิติสูงสุด คือ ด้านคุณภาพในการ ดำเนินงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยทางสถิติตาสุด คือ ด้านการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า (2) การศึกษา องค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของการประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 พบว่าโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยทางสถิติสูงที่สุด คือ ด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยทางสถิติตาที่สุด คือ ด้านทรัพยากรบุคคล (3) เมื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการ แข่งขันของพนักงาน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ตำแหน่ง ระดับการศึกษา หน่วยงานสันสังกัดและระยะเวลาในการทำงาน (4) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบขององค์การสมรรถนะสูง พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความสามารถทางการแข่งขันของพนักงานที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9025
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140802.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons