กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9026
ชื่อเรื่อง: | การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Use of restorative justice regarding offences Against body |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฏ ลีดส์ ญาณี มหาวงศนันท์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี การทำร้ายร่างกาย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับความผิดฐานทำร้ายร่างกายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาและมาตรการต่างๆ ทางกฎหมายต่อผู้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายตามกฎหมายไทย 2) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รูปแบบ วิธีการ ความเหมาะสมในการนำมาใช้ฟื้นฟูผู้กระทำผิดฐานทำร้าย ร่างกาย 3) สภาพปัญหาของกฎหมายที่เป็นบทลงโทษความผิดฐานทำร้ายร่างกายและปัญหาที่เกิด จากการใช้กฎหมายดังกล่าว 4) หลักการดำเนินคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการ 5) การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในต่างประเทศ และ 6) หาแนวทางในการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ทั้งวิเคราะห์ถึงความผิดฐานทำร้ายร่างกายว่าจะสามารถนำมาใช้ร่วมกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้หรือไม่ โดยคำนึงถึงพื้นฐานทางความคิด เจตนารมณ์และประเด็นปัญหาทางกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการรวบรวมข้อกฎหมาย ความคิดเห็นทางวิชาการจากหนังสือ วารสาร บทความ การสัมมนาวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ และวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ควบคู่กับ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายจะสามารถลดปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ทำให้ผู้กระทำผิด ผู้เสียหาย ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ได้มีส่วนร่วมในการยุติคดีด้วยความเข้าใจอันดีเกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ป้องกันการกระทำผิดซํ้าได้เป็นอย่างดี ไม่เน้นการลงโทษจำคุกกับผู้กระทำผิดทุกราย โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูแก้ไขตัวผู้กระทำผิดให้ดีขึ้น และจะทำให้ทุกฝ่ายเกิดส้มพันธภาพที่ดีต่อกันสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9026 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_145046.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.42 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License