กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9036
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพและการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Potental and learning organization development : Office of the Rubber Replanting Aid Fund
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เมธิตา สรวลสันต์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
การเรียนรู้องค์การ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2) เปรียบเทียบศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้คือ พนักงานสำนักงานกองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง ที่ปฎิบัติงานในสำนักงานกลาง จำนวน 340 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้จาก การคำนวณตามสูตรของยามาเน่ จำนวน 184 คนซึ่งได้จากการลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบมาตราส่วนประมาณค่า ของลิเคิร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) ค่า เอฟ (F-test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยสถิติ LSD ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับศักยภาพการพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านความสามารถของบุคคล และค่าเฉลี่ยตาสุด ได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นวิสัยทัศน์และ (2) เมื่อเปรียบเทียบระดับศักยภาพการเป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาทำงาน และระดับเงินเดือน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ ได้แก่ เพศ และ สถานภาพ ไม่พบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (3) แนวทางการพัฒนา พบว่าควรมุ่งเน้นวิสัยทัศน์ โดยพนักงาน สามารถเชื่อมโยงนโยบายและแผนงานต่างๆขององค์การได้และส่งเสริมให้พนักงานเข้าใจถึง วิสัยทัศน์ได้อย่างชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9036
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_141103.pdfเอกสารฉบับเต็ม11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons