กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9040
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the Office of the Basic Education Commission to become a digital organization |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จำเนียร ราชแพทยาคม นฤมล เพ็ชรพรายพริ้ง, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาองค์การ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัล (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัล (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นการพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัล ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร การปรับกระบวนการทำงานเป็นแบบดิจิทัล และการพัฒนาทักษะดิจิทัล (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัลที่สำคัญ ได้แก่ด้านการนำองค์การ ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านนโยบายและการนำไปปฏิบัติด้านการนำนวัตกรรมมาใช้ และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการเป็นระบบราชการ 4.0 (3) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การดิจิทัล ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสีคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ปัญหาสำคัญทีพบได้แก่ ขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน บุคลากรขาดทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีส่วนข้อเสนอแนะในการพัฒนาสู่การเป็นองค์การดิจิทัล ได้แก่ การปรับทัศนคติแบบก้าวหน้า ปรับใช้ระบบดิจิทัลในการปฏิบัติงานเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานอยู่เสมอและติดตามประเมินผลเป็นระยะ การสร้างวัฒนธรรมองค์การเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนเป็นองค์การ และสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9040 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168499.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License