Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9042
Title: ดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการกรณีอากาศยานต่างประเทศขนอาวุธเข้ามาลงในประเทศไทย
Other Titles: The statement did not sue the prosecutor's discretion a case study of the foreign aircraft carryingweapons into the country
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัมมศักดิ์ ปิยะ, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
อัยการ--ไทย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา.
ดุลยพินิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ กรณีอากาศยานต่างประเทศ ขนอาวุธเข้ามาลงในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงดุลพินิจการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ กรณีอากาศยานต่างประเทศขนอาวุธเข้ามาลงในประเทศไทย พบว่าอำนาจสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ โดยเฉพาะคดีที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้า ตำรา บทความผู้ศึกษาทำการศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการที่พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจสั่งไม่ฟ้องคดี เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข เพี่มเติม กฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดว่าการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ การล้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การดำเนินคดีแก่บุคคลที่กระทำความผิดทางอาญา ต้องมีกฎหมายบัญญัติให้สามารถกระทำได้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 143 ให้อำนาจพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการฟ้องคดีอาญา 2) การใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการ ในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ มิฉะนั้นอาจเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ 3) การฟ้องคดีที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์อันสำคัญของชาติ พนักงานอัยการยึดถือปฏิบัติตามระเบียบว่าต้วยการดำเนิน คดีอาญา พ.ศ.2528 และแก้ไขเพึ่มเติม ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554 ดังนั้นเห็นควรให้มีการตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาร่วมพิจารณาในการสั่งคดี โดยมีหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการคือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9042
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_149642.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons