กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9062
ชื่อเรื่อง: การกำหนดประเภทสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Designation of articles prohibited in prisons under the department of corrections act
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า
ปิยะนุช บัวสาย, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
เรือนจำ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาปัญหากฎหมายเรื่อง การกำหนดประเภทสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำตามกฎหมายว่า ด้วยราชทัณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวข้อง และกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นการสังเคราะห์ให้ได้ข้อสรุป เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขเพี่มเติมประเภทสิ่งของต้องห้ามตาม ข้อ 127 ของกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พุทธศักราชการ 2479 การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องสิ่งของต้องห้ามนำเข้ามาหรือเก็บรักษาไว้ในเรือนจำ ความรับผิดของผู้ต้องขังเมื่อกระทำผิดวินัย ฐานมีสิ่งของต้องห้ามผลการศึกษาพบว่า การกระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้ามในเรือนจำ นอกจากจะเป็นความผิดทางอาญาแล้ว ผู้ต้องขังต้องรับโทษทางวินัยด้วย ความผิดทางวินัยของเรือนจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดที่อยู่ในกรอบหมวด 5 แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยฯ สามารถลงโทษผู้ต้องขังได้เติมตามอำนาจ 3 สถาน ตามข้อ 116 แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยฯ ส่วนความผิดนอก กรอบหมวด 5 สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้เพียง 1 สถานเท่านั้น ดังนั้น สิ่งของที่ไม่ได้กำหนดไว้ ในข้อ127ได้แก่อุปกรณ์เสพยาเสพติดอุปกรณ์สักร่างกายเงิน และกล้องถ่ายรูปจึงเป็นเพียงสิ่งของไม่อนุญาตและเป็นความผิดนอกกรอบ ทำให้เรือนจำเกิดความสับสนและลงโทษผู้ต้องขังไม่ถูกต้อง และการลงโทษผู้ต้องขังได้สถานเดียวทำให้ผู้ต้องขังไม่เกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ เกิดการกระทำผิดเกิดบ่อยครั้ง และในผู้ต้องขังบางรายเรือนจำไม่สามารถใช้บทลงโทษ ให้เหมาะสมกับผู้ต้องขังแต่ละรายได้ดังนั้น จึงสมควรเพิ่มเดิมสิ่งของทั้ง 4 ประเภทเป็นสิ่งของต้องห้ามตามข้อ 127 ส่วนมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ ควรกำหนดขอบเขตการใช้ดุลพินิจของผู้บัญชาการเรือนจำ เช่น หากผู้ต้องขังกระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้าม ตามมาตรา 45 ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต้องแจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่ผู้ต้องขัง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9062
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_149994.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons