Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9064
Title: ปัญหากฎหมายการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา
Other Titles: Legal problem of temporary release in Criminal case
Authors: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
นริศ สายมณี, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
การปล่อยชั่วคราว
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหากฎหมายการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา 2) เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 3) เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจาก ตำรา เอกสาร วิทยานิพนธ์ บทความ รวมทั้งข้อมูลจากในอินเทอร์เน็ต โดยนำมาจัดทำรวบรวมข้อมูล ค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ตามมาตรา 39 วรรคสอง ที่กำหนดว่า "...ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยยังไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็น ผู้กระทำความผิดมิได้" เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนูษยชน และเป็นหลักประกันสิทธิของผู้ด้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ในการที่จะได้รับอิสรภาพหากมีสถานะเพียงแค่ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา หรือจำเลย ที่ศาลยังไม่ได้พิพากษาว่าบุคคลเหล่านี้ได้กระทำผิดจริง ซึ้งกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องปล่อยตัวชั่วคราวของประเทศไทยได้ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและจำเลยมากขึ้น แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่หลายประการ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการประกันและหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจะใช้ดุลพินิจในการปล่อยตัว ชั่วคราวเป็นไปตามวงเงินที่กฎหมายกำหนด หากมีการให้ประกันตัวโดยถือตัวเงินเป็นเกณฑ์ในการประกันตัว หรือกำหนดวงเงินประกันตายตัวอย่างเคร่งครัดเกินไป โดยไม่คำนึงถึงโอกาสในการหาหลักประกันของผู้ด้องหา หรือจำเลยที่เป็นคนยากจน ปัญหาเกี่ยวกับการสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามมาตรา 108/1 วรรคสอง ที่ให้ศาล สามารถใช้ดุลพินิจอย่างไม่มีขอบเขตในการให้เหตุผลประกอบการสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อาจทำให้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับความเสียหาย ปัญหาเกี่ยวกับการขังจำเลยระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด ตามมาตรา 185 วรรค หนี่ง ถือเป็นการบัญญัติกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งขังจำเลยไว้ในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดโดยไม่เป็นธรรม ถือเป็น การริดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และปัญหาเกี่ยวกับการขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในสถานที่อื่นนอกจากเรือนจำ ซึ่งตามมาตรา 89/1 เป็นบทบัญญํติที่ให้สิท่ธิในการร้องขอเพียงเฉพาะบุคคล แต่ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ต้องหา หรือจำเลยที่กฎหมายสันนิษฐานว่ายังไม่มีความผิดจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ในการร้องขอให้ขังตนไว้ในสถานที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ ดังนั้น สมควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีอาญา เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไปพร้อมกับการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายในคดีอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9064
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_150588.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons