กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9074
ชื่อเรื่อง: การลงทุนในสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าในบริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investment in oil futures in the Thailand Futures Exchange Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยานี ภาคอัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลังเทพ ประพรรดิจักกิจ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย)
ปิโตรเลียม
การลงทุน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการลงทุนในสัญญาซึอขายนํ้ามัน ล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย (2) เปรียบเทียบการลงทุนในสัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้ากับ การลงทุนในหุนสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (3) ระบุปัจจัยเสี่ยงหลักจากการลงทุนใน สัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย และ (4) วิเคราะห์การเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของการลงทุนในสัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้าในตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาและวิเคราะห์จากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประกอบดัวย ราคาซื้อขายสัญญาน้ำมันล่วงหน้าตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2555 สถิติการซื้อขายสัญญา น้ำมันล่วงหน้า สำหรับระยะเวลาเดียวกัน และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับการซื้ออขายสัญญานามนล่วงหน้าและ การซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การศึกษาดำเนินตามลำดับดังนี้ (1) เก็บรวบรวม ข้อมูลทุติยภูมิ (2) แยกประเภทข้อมูล (3)ระบุปัจจัยเสี่ยงของการลงทุน (4) ประมาณผลตอบแทนจากการลงทุน และ (5) สร้างกราฟแสดงการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนจากการลงทุน ผลการศึกษาพบว่า (1) การลงทุนในสัญญาซื้อขายนื่วมันล่วงหน้า มีกระบวนการสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ การเปิดบัญชีกับบริษัทนายหน้า การวางเงินหลักประกัน และการส่งคำสั่งซื้อขาย (2) การลงทุนใน สัญญาซอขายนามนล่วงหน้า มีระเบียบหสักเกณฑ์และขั้นตอนที่คล้ายคลึงกับการลงทุนในหลักทรัพย์หุ้น สามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการลงทุนผ่านตัวแทนนายหน้าที่เป็นบริษัทสมาชิก อย่างไรก็ตามการลงทุนทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน คือ การลงทุนในสัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้า สามารถทำกำไรในช่วงราคาลงได้แต่ต้องมีการวางเงินหลักประกันก่อนทำการซื้อขาย (3) ปัจจัยเสี่ยงหลัก ของการลงทุนในสัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้าคือปัจจัยด้านอุปสงค์และปัจจัยด้านอุปทานของราคานํ้ามัน รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อราคานํ้ามันในประเทศไทย (4) การเคลื่อนไหวของผลตอบแทนของสัญญาซื้อ ขายนํ้ามันล่วงหน้า มีความผันผวนสูงเนื่องจากเป็นการลงทุนที่ใช้อัตราทดสูง และผลตอบแทนจากการซื้อ ขายสัญญาซื้อขายนํ้ามันล่วงหน้าของสัญญาเดือนมีนาคม พฤษภาคม และสิงหาคม ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย เคลื่อนที่ 14 วัน มีอัตราประมาณ +146.6%, -60.7%, +326.5% ตามลำดับ โดยผลรวมทั้งหมดคือ +412.4%
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9074
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_130680.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons