กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9077
ชื่อเรื่อง: มาตรการการลงโทษทางอาญาความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Measures for criminal punishment : offense of child abduction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญประคอง จูมาพันธ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กระบวนการกำหนดโทษคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องมาตรการการลงโทษทางอาญา ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎี คุณธรรมทางกฎหมาย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผิดฐานพรากผู้เยาว์อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินซึ่งไม่อาจยอมความได้ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักการการดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ และไม่อาจยอมความได้ 3) เพื่อศึกษาหลักกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับหลักการการลงโทษในคดีอาญาในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ 4)เพื่อวิเคราะห์มาตรการการลงโทษทางอาญา กรณีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ในบางกรณีเป็นความผิดอันยอมความได้ และเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง กฎหมายในคดีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ซึ่งเป็นคดีความผิดอันมิอาจยอมความได้เป็นความผิดอันยอมความได้ การค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำรา วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและเอกสารต่างๆ ภายในประเทศไทยโดย วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความผิดฐานพรากผู้เยาว์กรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นเยาวชน ในขณะกระทำความผิดกับกรณีผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลทั่วไป ผลการศึกษาพบว่า ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่ไม่อาจยอม ความได้แม้มีการบรรเทาผลร้ายและเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับความผิดอาญาฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งถือเป็นการกระทำสืบเนืองมาจากการกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ เมื่อมีการบรรเทาความเสยหายและยินยอมกัน หากศาลได้มีคำสั่งให้สมรสกันกฎหมายมีเหตุบรรเทาโทษและลงโทษน้อยกว่าที่ กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ผู้ศึกษาเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 - 319 ให้เป็นความผิดอันยอมความได้โดยอยู่ภายใต้หลักความ ยินยอมของผู้เป็นบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์หรือนำมาตรการอื่นมาใช้แทนการลงโทษทางอาญา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9077
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_151918.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons