Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9082
Title: คุณภาพการบริการของห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Other Titles: Services quality of Library and Information Technology Rambhai Barni Rajabhat University
Authors: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มาลีวัลย์ นิโรจน์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ --บริการลูกค้า
ห้องสมุด--บริการลูกค้า
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
บริการสารสนเทศ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพการบริการของห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของห้องสมุดระหว่างบุคลากรกับนักศึกษาประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ อาจารย์ บุคลากร จำนวน 642 คน และ นักศึกษา ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555จำนวน 8,387 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วย สูตรของยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์บุคลากร จำนวน 250 คน และนักศึกษา จำนวน 380 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพการบริการของห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเข้าใจ ความสามารถ การตอบสนอง การเข้าถึงลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ ความเชื่อถือได้ ความมั่นคง อัธยาศัยและการสื่อสาร (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นคุณภาพการบริการของ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามความคิดเห็นของบุคลากรอับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างอัน โดยทั้งบุคลากรและนักศึกษามีความเห็นต่อการให้บริการของห้องสมุดโดยรวมและรายด้านในระดับมาก จำแนกรายด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเชื่อถือได้ ความเข้าใจ ความสามารถ การตอบสนอง การเข้าถึงลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ ความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ อัธยาศัย และการสื่อสาร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9082
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_142401.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons