กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9086
ชื่อเรื่อง: | ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนของแวนฮีลีร่วมกับ โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ที่มีต่อระดับความคิดทางเรขาคณิต เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of Van Hiele teaching model learning management using the geometer’s sketchpad program on geometric thinking level in the topic of geometric transformation of grade 8 students at Princess Chulabhorn Science High School Phetchaburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก, อาจารย์ที่ปรึกษา พิชญานันท์ บุญแรม, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คณิตศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ไทย--เพชรบุรี เรขาคณิต--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิต เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนของแวนฮีลีร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad และ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดทางเรขาคณิต เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนของแวนฮีลีร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนของแวนฮีลีร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad มีนักเรียนจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 43.75 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 ระดับ และมีนักเรียนจำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 1 ระดับ และมีนักเรียนจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22.92 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตคงที่ นักเรียน ส่วนใหญ่จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 47.92 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 3 รองลงมาจำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 31.25 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 2และจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 20.83 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตอยู่ในระดับ 1และ 2)ระดับความคิดทางเรขาคณิตเรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนของแวนฮีลีร่วมกับโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9086 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168601.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License