กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9096
ชื่อเรื่อง: บทบาทผู้พิพากษาศาลยุติธรรมกับการค้นหาความจริงในคดีอาญา : กรณีการสืบพยานเพิ่มเติมระหว่างพิจารณาคดี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Role of judges of the court of justice and the search for truth in criminal cases : additional hearing cases during the trial
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
ปุนรดา แก้วมณี, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี.
ผู้พิพากษา
พยานหลักฐานคดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง บทบาทผู้พิพากษาศาลยุติธรรมกับการค้นหาความจริงในคดีอาญา: กรณีการสืบพยานเพิ่มเติมระหว่างพิจารณาคดี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎี รูปแบบ และแนวคิดเกี่ยวกับ การค้นหาความจริงในคดีอาญาของประเทศไทยและของต่างประเทศ และวิเคราะห์บทบาทผู้พิพากษา ศาลยุติธรรมในการค้นหาความจริงคดีในคดีอาญา รวมทั้งเพื่อหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้เหมาะสมในการค้นหาความจริงเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทบาทศาล ในการค้นหาความจริงในคดีอาญา โดยทำการศึกษารวบรวมจากเอกสาร ตำรา บทความ เว็ปไซต์ และงานวิจัยทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับบทบาทศาลในการค้นหาความจริงคดีอาญาของไทยและของต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยได้ให้อำนาจศาล ในการค้นหาความจริงตามหลักการของระบบไต่สวนในเรื่องของการเรียกสืบพยานเพิ่มเติมตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ถือเป็นหลักการที่ให้ศาลมีบทบาทในการค้นหาความจริงในเชิงรุก ให้ทำการไต่สวนหรือค้นหาความจริงด้วยตนเองได้โดยไม่จำต้องมีคู่ความร้องขอแต่ในทางปฏิบัติศาลยังไม่ใช้อำนาจดังกล่าว ศาลมีบทบาทเพียงแต่เป็นกรรมการควบคุมรักษากติกาเท่านั้น โดยศาลจะวางตัวเป็นกลาง และบทบัญญัติดังกล่าวมิได้เป็นบทเคร่งครัดให้ศาลต้องทำการสืบพยานเพิ่มเติมในกรณีคดีประเภทใด ความร้ายแรงของคดีหรืออัตราโทษเท่าใด หรือในกรณีจำเลยให้การรับสารภาพ เพียงแต่ให้เป็นดุลพินิจของศาล และเนื่องจากศาลยังคงยึดถือเคร่งครัดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ที่ว่าผู้พิพากษาจักต้องวางตนเป็นกลาง และการนำพยานหลักฐานเข้าสืบและการซักถามพยานเป็นหน้าที่ของคู่ความแต่ละฝ่ายนั้น อันส่งผลให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง และอาจทำผู้บริสุทธิ์ต้องรับโทษแทนผู้กระทำความผิด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาความจริงในคดีอาญาของศาล ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าหากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ก็จะมีผลให้ศาลใช้บทบาทเชิงรุกในการค้นหาความจริงในคดีอาญาให้เพิ่มมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9096
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_153852.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons