กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9097
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยคดีอาญาตามกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem related to mediate criminal case according to the ministerial regulations about mediation of crime
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดาริกา นาคขาว, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การระงับข้อพิพาท (กฎหมาย)--ไทย
ความผิดทางอาญา--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
การไกล่เกลี่ย--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวํติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทศึกษาถึงเจตนารมณ์ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาทของฝ่ายปกครอง และวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายของกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษ ทางอาญา พ.ศ.2553 ศึกษาวิเคราะห์มาตรการไกล่เกลี่ยของฝ่ายปกครองเพื่อให้การบังคับใช้กฎกระทรวงว่าด้วย การไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ.2553 มีประสิทธิภาพมากยี่งขึ้น ศึกษาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการไกล่เกลี่ย ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ.2553 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร โดยทำการค้นคว้าใน รูปแบบของหนังสือ ตำรา วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา คำสั่ง ข้อกำหนด ระเบียบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งศึกษาในเรื่องแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท รวมถึงเจตนารมณ์ของการดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของฝ่ายปกครอง ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับการดำเนินไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายไทยในเรื่องดังกล่าว ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพี่มเดิม ฉบับที่ 7 พ.ศ.2550 มาใช้บังคับ โดยให้อำนาจนายอำเภอในการจัดการยุติข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกิดขึ้นในระดับชุมชน เป็นการแก้ไขป้ญหาที่ทำให้ประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมและเป็นการช่วยเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความปรองดองในสังคมได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ.2553 ที่ออกตามความในกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2550 ขึ้นใช้บังคับ พบว่า ยังมีป้ญหาในเรื่องการบัญญัติกฎหมายบางข้อ มีรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน ครอบคลุม ทำให้การบังคับใช้กฎหมาย ไม่สัมฤทธึ๋ผลเท่าที่ควรจึงเห็นควรให้มีการมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงว่าด้วยการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ.2553 เพื่อให้กระบวนการ ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพาทของอำเภอมีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ผู้รับบริการอย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9097
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_154917.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons