Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9098
Title: | มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชน |
Other Titles: | Special measures in lieu of criminal case action for the children and the minors |
Authors: | วรรณวิภา เมืองถํ้า ธีรติ ภาคภูมิ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี เยาวชนผู้กระทำความผิดอาญา ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน--ไทย เด็ก--คดีอาญา--ไทย เยาวชน--คดีอาญา--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชน เพื่อนำม วิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางและการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมต่อไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตำรา บทความ รายงานวิชาการต่างๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปสู่ผลการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชน ที่นำมาใช้สำหรับเด็กและเยาวชนหลังฟ้องคดีนั้นยังมีข้อบกพร่องบางประการ กล่าวคือ ยังปรากฏ ว่ามีสถิติการกระทำความผิดซ้ำของเด็กที่กระทำความผิดและได้รับการพิจารณา ให้นำมาตรการพิเศษมาใช้หลังฟ้องคดี โดยเด็กและเยาวชนไม่สำนึกในการกระทำความผิด แต่มุ่งหวังเพื่อจะไม่ให้ ลูกศาลพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกระบวนการพิจารณาคดีอาญานั้น เห็นควรให้มีการแก้ไข ปรับปรุงตัวบทกฎหมาย โดยเสนอให้เพิ่มหลักเกณฑ์ในตัวบทกฎหมายให้ต้องใช้ชุมชนหรือ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อเสนอต่อศาลประกอบการพิจารณาอีกทั้งการกำหนดอัตราโทษในการนำมาตรการพิเศษมาใช้นั้นไม่เหมาะสม เห็นควรเสนอแก้ไขโดยเสนอเปลี่ยนเป็นกำหนดเป็นฐานความผิดตามกฎหมายที่มีโทษทางอาญาไว้ให้ชัดเจนว่าฐานความผิดฐาน ใดควรนำมาตรการพิเศษมาใช้บังกับได้หรือไม่ และส่วนของการใช้ดุลพินิจของศาลนั้น เห็นควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงส่วนนี้ โดยการให้มีระบบการคัดสรรผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านกฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนและมีความละเอียดอ่อนและความเข้าใจในเรื่อง ครอบครัวและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนเป็นหลักในการคัดสรรเพื่อดำรงตำแหน่งในศาลเยาวชนและครอบครัว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9098 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_154918.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License