กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9099
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทโกลด์ไฟน์แมนูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivation in working of employees of Goldfine Manufacturers Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นรินทร์ ตันติรุ่งโรจน์ชัย, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทโกลด์ไฟน์แมนูแฟคเจอเรอส์--พนักงาน
การทำงาน--ไทย
การทำงาน--จิตวิทยา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัท โกลดไฟน์ แมนูแฟค เจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการ ปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โกลด์ไฟน์ แมนูแฟค เจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัท โกลค์ไฟน์ แมนูแฟค เจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานบริษัท โกลด์ไฟน์ แมนูแฟค เจอเรอส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,544 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 318 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.970 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความ แปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ได้แก่ สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน กฎระเบียบและนโยบาย ของบริษัท ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ระดับและคุณภาพของการบังคับบัญชา ความมั่นคงใน งาน ความสำเร็จในงาน ความรับผิดชอบต่องาน เนื้อหาของงานที่ปฏิบัติ ระดับแรงจูงใจปานกลาง ได้แก่ รายได้และผลตอบแทน ความรู้สึกไต้รับการยอมรับ โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ (2) พนักงานที่ มีเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน สถานภาพสมรส ระดับพนักงาน หรือหน่วยงานที่แตกต่าง กัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) ปัจจัยที่พนักงานให้ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพึ่มเติมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านรายไต้และผลตอบแทน ด้านกฎระเบียบและนโยบายของบริษัท ต้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9099
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_128629.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons