Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9114
Title: แนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Guidelines for development of agricultural product management learning centers at farmers market in Kanchanaburi Provinces
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรินทร์ ธนกุลเศรษฐ์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ศูนย์การเรียนรู้
สินค้าเกษตร--การจัดการ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) บริบทของศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลาดเกษตรกร 2) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็นและความต้องการในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ของเกษตรกร 3) การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ของเกษตรกร 4) ความพึงพอใจ ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการศูนย์เรียนรู้ฯ 5) ปัญหา สภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรีเป็นสถานที่ให้เกษตรกรมาจำหน่ายสินค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการตลาด 2) ความรู้โดยภาพรวมเกษตรกรตอบได้ถูกต้องเฉลี่ย 11.33 ข้อ จาก 15 ข้อ แหล่งความรู้โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง โดยได้รับจากสื่อออนไลน์มากที่สุด ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยูในระดับมาก โดยด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกของศูนย์เรียนรู้ฯ มากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานสินค้าเกษตร ความต้องการของเกษตรกรโดยภาพรวมอยูในระดับมาก โดยด้านสินค้ามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสถานที่ตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ 3) การมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยูในระดับปานกลางโดยประเด็นเรื่อง การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ มากที่สุดความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านสินค้ามากที่สุด 4) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยภาพรวมอยูในระดับมาก พึงพอใจด้านสินค้ามากที่สุด ปัญหาของผู้ใช้บริการโดยภาพรวมอยู่ ในระดับน้อยที่สุดพบวาปัญหาด้านการส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์มากที่สุด ข้อเสนอแนะควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น 5) ปัญหาของเกษตรกรโดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง พบว่าด้านกฎระเบียบสมาชิกไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของศูนย์เรียนรู้ฯ มากกว่าข้ออื่น ๆ ข้อเสนอแนะ คือ คณะกรรมการควรมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎระเบียบกบสมาชิกเพื่อให้การปฏิบัติตามกฎระเบียบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จุดแข็ง ของศูนย์เรียนรู้ฯ คือ เกษตรกรมีจิตบริการ สถานที่สะอาด จุดอ่อน คือ เกษตรกรขาดความช านาญในการใช้เทคโนโลยีผลิตสินค้า และอุปสรรค คือ ลูกค้าขาดความเชื่อมันในคุณภาพสินค้า โดยมีแนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ได้แก่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9114
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168410.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons