Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9121
Title: การกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราขบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
Other Titles: The determination of prohibited government official position according to section 100 of the act appurtenant to the constitution on anti-corruption B.E.2542
Authors: เสาวนีย์ อัศวโรจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐวรรธน์ ยิ้มอ่อน, 2529- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การขัดกันแห่งผลประโยชน์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทบัญญัติมาตรา100แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตลอดจนกระบวนการและขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นสำคัญ ด้วยการค้นคว้า รวบรวมจากกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ บทความ ตำราวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำวินิจฉัย ตัวบทกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดแนวทาง หรือมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมซึ๋งก็เป็นปัญหาการคอรัปชั่นปัญหาหนึ่งของสังคมทั่วโลก แม้ประเทศไทยจะมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อให้เป็นสากลดังเช่นกับต่างประเทศแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการบังคับใช้ ที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมเท่าที่ควรนัก มาตรา100 ถือเป็นมาตรการกลไกสำคัญประการหนึ่งในการป้องกันการเข้าไปผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยในวรรคสอง บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการกำหนดตำแหน่ง เจ้าหน้าที่รัฐที่สมควรอยู่ภายใบังคับของมาตรา 100 แต่ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้กำหนดในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร เนื่องด้วยมีข้อจำกัด อยู่หลายประการ จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายในมาตรา 100จึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติมาตรา 100 และเสนอให้มีการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐให้มีความเหมาะสมมากยี่งขื้นเพื่อการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9121
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_157821.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons