กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/913
ชื่อเรื่อง: | การประเมินระบบการเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในจังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of information dissemination system for developing people's quality of life in Chumphon Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทัศนา หาญพล ภัควดี ผลพฤกษา, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ คุณภาพชีวิต--ไทย--ชุมพร การแพร่กระจายข้อมูล |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อ 1) ประเมินระบบการจัดการการเผยแพร่สารสนเทศ 2) เปรียบเทียบระบบการจัดการด้านการเผยแพร่สารสนเทศ 3) ศึกษาปัญหาการจัดการด้านการเผยแพร่สารสนเทศ 4) ประเมินกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศ และ 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในการรับสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหน่วยงานรัฐสังกัด 4 กระทรวงหลักในจังหวัดชุมพรจำแนกตามระดับการศึกษาและอาชีพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือ หัวหน้ากลุ่มงานและผู้ปฏิบัติที่สังกัด 4 กระทรวงหลักในจังหวัดชุมพรโดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 81 คน กลุ่มที่ 2 คือ ประชากรในจังหวัดชุมพร ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครึ่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ สำหรับผู้เผยแพร่สารสนเทศและผู้รับสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เผยแพร่สารสนเทศส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในการจัดการด้านการเผยแพร่สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการแจ้งวัตถุประสงค์และนโยบายการเผยแพร่สารสนเทศไว้อย่างชัดเจนและสามารถนำใปสู่การปฏิบัติได้จริง และสารสนเทศมีขอบเขตเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ผู้เผยแพร่สารสนเทศที่สังกัดกระทรวงต่างกัน มีการจัดการด้านการเผยแพร่สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ผู้เผยแพร่สารสนเทศส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการจัดการด้านการเผยแพร่สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้เผยแพร่มีปัญหาด้านสถานที่และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 4) ผู้รับสารสนเทศส่วนใหญ่ประเมินกระบวนการเผยแพร่สารสนเทศโดยรวมอยู่ ในระดับปานกลาง โดยด้านผลของการเผยแพร่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ 5) ผู้รับสารสนเทศส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการเผยแพร่สารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความพึงพอใจต่อกระทรวงสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และประชาชนที่มีการศึกษาและอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการเผยแพร่สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนในจังหวัดชุมพรไม่แตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/913 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (6).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License