กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9144
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถหลักของผู้บริหารไทยในยุคโลกาภิวัตน์ (กรณีศึกษาผู้บริหารภาครัฐและเอกชนในจังหวัดชัยภูมิ)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors effecting core competency levels of Thai managers in the globalization era (a case study of public and private sector managers in Chaiyaphum province)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติ อำนวยวัฒนะกุล, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหาร--ไทย--ชัยภูมิ
ความสามารถทางการบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถหลักของผู้บริหาร ไทยในยุคโลกาภิวัตน์ (กรณีศึกษา ผู้บริหารภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดชัยภูมิ) มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถหลักของผู้บริหารใน ยุคโลกาภิวัตน์ ในจังหวัดชัยภูมิ (2) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถหลักของผู้บริหาร ในการที่จะพาองคักร ไปสู่ความสำเร็จในยุค โลกาภิวัตน์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือบุคลากรทั้งในภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารขึ้นไป จำนวน 200 คน โคยมีตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ เงินเดือน ประสบการณ์กรทำงาน ประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร ตำแหน่ง ทักษะในการทำงาน ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน และทัศนคติต่อองค์กร ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถหลักของ ผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ ส่วนที่ ! เป็นคำถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 เป็นคำถามวัคทักษะในการทำงาน ส่วนที่ 3 เป็น คำถามวัด ความรู้ ความเข้าใจในงาน ส่วนที่ 4 เป็นคำถามวัดทัศนคติต่อองค์กร และส่วนที่ 5 เป็น คำถามวัดความสามารถหลักของผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรม สำเร็จรูป SPSS for Windows สถิดิที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล คือสถิดิเชิงพรรณนา ได้แก่ ก่าร้อยละ และ ความแตกต่างของร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ก่ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีระดับความสามารถหลักของผู้บริหารใน ยุคโลกาภิวัตน์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละปัจจัยพบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มี ทักษะในการทำงานสูง มีความรู้ความเข้าใจในงานมาก และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ซึ่งปัจจัยที่มี ผลต่อระดับความสามารถหลักของผู้บริหารในยุค โลกาภิวัตน์ มี ระดับการศึกษา ประสบการณ์การ ทำงาน ประสบการณ์การบริหาร ตำแหน่ง ทักษะในการทำงาน ความรู้ ความเข้าใจในงาน และ ทัศนคติต่อองค์กร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9144
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
82651.pdf1.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons