Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9149
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวของ เกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Factors related adoption of technology for reducing rice production cost by collaborative farming farmers in Ban Lat District, Phetchaburi Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตสุภา บิดาทอง, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: ข้าว--การปลูก--การควบคุมต้นทุนการผลิต
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพทางสังคมและสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว 3) การยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว และ 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว ของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ56.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.75ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงาน เฉลี่ย 1.87คน ร้อยละ 70.6 มีอาชีพทำนา มีพื้นที่ของตนเอง เฉลี่ย 13.55 ไร่ พื้นที่เช่าเฉลี่ย 11.13 ไร่ มีประสบการณ์ปลูกข้าว เฉลี่ย 35.99 ปี ร้อยละ 82.5 ผลิตข้าวปี ละ 1 ครั้ง ปริมาณผลผลิตข้าว เฉลี่ย711.48 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาจำหน่ายข้าว เฉลี่ย 7,204.20 บาทต่อตัน ร้อยละ60.8 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร และได้รับข่าวสารความรู้จากการเข้ารับการอบรม/ศึกษาดูงานมีรายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 42,906.23 บาทต่อปีต้นทุนการผลิตข้าวก่อนเข้าร่วมโครงการ เฉลี่ย 3,229.50 บาทต่อไร่ หลังเข้าร่วมโครงการ 2,447.10 บาทต่อไร่ 2)เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการลดต้นทุน การผลิตข้าวภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด โดยประเด็นที่ตอบผิดมากที่สุด คือ การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวในปริมาณมากจะทำให้ต้นข้าวหนาแน่น ช่วยลดการเกิดโรค และศัตรูพืชได้เกษตรกรมีทัศนคติเกี่ยวกับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการ ผลิตข้าวในภาพรวมอยูในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยเห็นด้วยอันดับน้อยที่สุด คือ เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวจะช่วยลดต้นทุนด้านแรงงานได้ 3) เกษตรกรมีการยอมรับเชิงความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีการยอมรับไปปฏิบัติในระดับมากโดยยอมรับเชิงความคิดเห็นและยอมรับไปปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ด้านการทำบัญชี 4) เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีประเด็นปัญหามากที่สุด คือ ด้านการทำบัญชีต้นทุนและเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด โดยเห็นด้วยมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ควรอบรมให้ความรู้เรื่อง พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับ คือ ระดับความรู้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเชิงปฏิบัติที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9149
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168467.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons