Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9151
Title: การนิรโทษกรรมความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113
Other Titles: Amnesty of internal security offences with the Criminal Code, section 113
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
นุชิต จิโรจพงศ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
นิรโทษกรรม
ความผิดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความหมาย วิวัฒนาการ และหลักการของการนิรโทษกรรม ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมของไทยและต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 เพื่อศึกษาการนิรโทษกรรม ของความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงภายในและเพื่อแสวงหาหลักเกณฑ์ในการยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้จากการวิจัยเอกสาร ตำราทางวิชาการ งานวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย คำพิพากษาศาล และข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาษาไทย และต่างประเทศ รวมถึงเอกสารทางวิชาการ แนวความคิด ทฤษฎี บทความทางกฎหมาย สี่งพิมพ์ ทางวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่นที่เป็นประโยชน์ ผลการศึกษาพบว่า ในหลายประเทศที่มีการนิรโทษกรรมความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ภายในประเทศ ส่วนใหญ่ มีวิธีดำเนินการแค้ปัญหาคล้ายคลึงกัน คือ ประกาศยกเลิกนิรโทษกรรม หรือประกาศการเป็นโมฆะของกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะสาเหตุหลายประการ อาทิ ความขัดแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ ตลอดจนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนูษยชน สิทธิของพลเมือง สิทธิในการเข้าถึง กระบวนยุติธรรม แม้แต่มาจากการโหวตลงคะแนนเสียงของประชาชน ทำให้สามารถนำตัวผู้กระทำผิด มาเข้าสู่กระบวนพิจารณาลงโทษตามกฎหมายแม้เวลาจะล่วงเลยมานาน แสดงให้เห็นว่ากฎหมาย นิรโทษกรรมนั้นขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ละเมิดสิทธิของประชาชนล้วนแต่เป็นโมฆะหรือสามารถ ยกเลิกได้จริง การออกกฎหมายควรเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตนเอง พวกพ้องหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้เสนอแก้ไขกฎหมาย หน้าที่ของกองทัพให้มีหน้าที่ปกปัองภัยจากภายนอกเท่านั้น รับรองสถานะรัฐธรรมนูญว่ายังบังคับ ใช้แม้มีเหตุแทรกแซงทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นประชาชนมีสิทธิต่อต้านการกระทำดังกล่าว และเสนอยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรม ประกาศความเป็นโมฆะของกฎหมายนิรโทษกรรม รวมทั้งให้ศาลใช้ดุลยพินิจคำนึงถึงหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9151
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_158486.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons