กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9161
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินงานตามหลักการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐของกรมพัฒนาที่ดิน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Personnel participation in the department of land development operations based on public sector management quality award principle |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา พวงพิศ พันธ์สำโรง, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | กรมพัฒนาที่ดิน--การบริหาร กรมพัฒนาที่ดิน--การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง บุคลากร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคลากรกรมพัฒนาที่ดิน 2) ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนากรมพัฒนาที่ดิน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4) ความต้องการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากรมพัฒนาที่ดินตามหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรกรมพัฒนาที่ดิน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 42.26 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท เป็นข้าราชการประเภทวิชาการชำนาญการพิเศษ มีระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 13.59 ปี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์และได้รับความรู้จากแหล่งความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจากเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน และส่วนใหญ่ไม่เป็นคณะกรรมการ/คณะทำงานในการดำเนินงานตามหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2) บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 7 ด้านได้แก่ ด้านการนำองค์การ ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านบุคลาการ ด้านการปฏิบัติการ และด้านผลลัพธ์การดำเนินการและพบวาบุคลากรมีความคิดเห็นด้านข้อดีของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ภาพรวมอยูในระดับมาก ส่วนด้านข้อเสียพบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นภาพรวมอยูในระดับปานกลาง 3) ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอยูในระดับมาก โดยอันดับที่ 1 คือการรับประโยชน์ประเด็นกระบวนการท างานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองลงมา คือ การประเมินผลประเด็นการแสดงความคิดเก็นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน การดำเนินกิจกรรมประเด็นเป็นคณะกรรมการ/คณะทำงาน การวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์เพื่อกำหนดแนวทาง ประเด็นการเสนอปัญหาโครงการกิจกรรมต่างๆ ที่จะนำมาพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร ส่วนอันดับสุดท้าย คือ การวางแผนดำเนินงาน ประเด็นกำหนดวิธีการ 4) ความต้องการการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้ส่งเสริม คือบุคลากรต้องการให้ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ส่งเสริมรองลงมา คือ บุคลากรทุกคนในองค์การควรได้รับการส่งเสริมโดยเนื้อหาในการส่งเสริม คือ ด้านประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ส่วนด้านช่องทางการส่งเสริม ต้องการจากสื่อกลุ่ม การประชุม/อบรมเชิงปฏิบัติการแบบออนไลน์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9161 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
168465.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License