Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/916
Title: | การเพิ่มประสิทธิภาพของไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการทอดไก่โดยใช้สารกันหืน |
Other Titles: | Efficiency increase of biodiesel from soybean oil after chicken frying process by using of antioxidant |
Authors: | สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ นุชนารถ ศิริบูรณ์, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศริศักดิ์ สุนทรไชย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เชื้อเพลิงไบโอดีเซล |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้มข้นของผิวที่เลตไฮดรอกซีโทลคีน (เอชพี) ที่ทำให้เกิดเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส ของไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการทอดไก่ให้ได้มาตรฐาน (2) หาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของบีเฮช กับค่าความเป็นกรด ค่าเพอร์ออกไซด์และความหนืดจตน์ ณ อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ของไบโอดีเซล (3) หาความสัมพันธ์ระหว่างเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาขอกซิเดชั่น ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส กับค่าความเป็นกรด ค่าเพอร์ออกไซด์และความหนืดจลน์ ณ อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส (4) หาสมการทำนายเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส (5) หาความสัมพันธ์ระหว่างเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียสของน้ำมันผสม (ระหว่างไบโอดีเซลและดีเซล) และอัตราส่วนของไบโอดีเซลในน้ำมันผสม และ (6) เปรียบเทียบความแตกต่างของเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ของน้ำมันผสมที่อัตราส่วนต่างๆ เมื่อเติมและไม่เติมบีเฮชทีในไบโอดีเซล การวิจัยนี้ดำเนินการทดลองโดยการวัดตัวแปรก่อนเติมและหลังเติมบีเอชทีในไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการทอดไก่ โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการทดสอบเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด ค่าเพอร์ออกไซด์และความหนืดจลน์ ณ อุณหภูมิ 40 องศา เซลเซียส ของไบโอดีเซลที่เต็มบีเอชทีที่ความเข้มข้น 0-0.5 % และการทดลองที่ 2 เป็นการทดสอบเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส ของน้ำมันผสมระหว่างไบโอดีเซลที่เต็มบีเอชทีที่ทำให้เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้มาตรฐาน (0.4 %) และน้ำมันดีเซลที่อัตราส่วนต่างๆ ดังนี้ 100, 0, 80:20, 60, 40, 40,60, 20:80 เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบหลักๆ ได้แก่ เครื่องแรนซิเมท เครื่องไทเทรดอัตโนมัติ และเครื่องไคนมาติดวิส โดมิเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน สมการถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเข้มข้นของบีเอชทีที่ทำให้เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ให้ได้มาตรฐาน (ไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง) คือ ความเข้มข้น 0.4-0.5 % (2) บีเฮชทีที่มีความสัมพันธ์กับค่าเพอร์ออกไซด์เชิงผกผันปานกลางและมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (3) เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส มีความสัมพันธ์กับค่าเพอร์ออกไซค์เชิงผกผันปานกลางและมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (4) ได้สมการทํานายเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส คือ Y = 44.92 1.52x โดยที่ 1 คือเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส และ x คือค่าเพอร์ออกไซด์ โดยสมการทำนายได้ถูกต้องเพียง 30.1 % และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (5) ความสัมพันธ์ระหว่างเสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ของน้ำมันผสมกับอัตราส่วนของไบโอดีเซลในน้ำมันผสมมีความสัมพันธ์เชิงผกผันสูงมากและมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และอัตราส่วนของไบโอดีเซลต่อเซลทําให้เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันดีที่สุดคือ 20:80 และ (6) เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ของน้ำมันผสมทั้งแบบเติมและไม่เติมบีเฮชทีในไบโอดีเซลให้ผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยแบบเติมบีเอชทีให้เสถียรภาพต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ณ อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียสสูงกว่าแบบไม่เติม |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/916 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
114790.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License