กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/919
ชื่อเรื่อง: ประชาสังคมในจังหวัดเพชรบุรีศึกษากรณีกลุ่มคนรักเมืองเพชร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Civil society in Phetchaburi Province : a case study of the Khon Rak Muang Phetch Group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธโสธร ตู้ทองคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทวี สุรฤทธิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุนารีรัตน์ นวลละออง, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ประชาสังคม -- ไทย -- เพชรบุรี
การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย -- เพชรบุรี
กลุ่มคนรักเมืองเพชร
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุและความเป็นมาที่นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มคนรักเมืองเพชร (2) โครงสรัาง ลักษณะ กระบวนการ อุทธศาสตร์ ของกลุ่มคนรักเมืองเพชร (3) บทบาทและการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรักเมืองเพชร (4) ผลกระทบจากการจัดตั้งกลุ่มคนรักเมืองเพชร (5) ปัจจัยส่งเสริมหรือสนับสมุน และปัจจัยที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคของการรวมกลุ่มคนรักเมืองเพชรการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และ เอกสาร ประชากร ได้แก่ แกนนำ ทั้ง 37 กลุ่มแกนของกลุ่มคนรักเมืองเพชร จำนวน 49 คน วิเคราะห์ และ นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) สาเหตุและความเป็นมาที่นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มคนรักเมืองเพชร ได้แก่ความต้องการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้แก่ท้องถิ่นและจังหวัดเพชรบุรีร่วมกัน การพัฒนาของภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรี และ กระแสแนวคิดเรื่องประชาสังคมของนักวิชาการ (2) โครงสรัางของกลุ่มคนรักเมืองเพชร เป็นองค์กรประชาสังคมแบบแนวราบ ลักษณะประชาสังคมของ กลุ่ม มีความหลากหลาย มีความเป็นชุมชน มีสำนึกสาธารณะ มีกิจกรรมและความต่อเนื่อง มีเครือข่ายและ การติดต่อสื่อสาร กระบวนการพัฒนาการของกลุ่มมี 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การเกิดจิตสำนึกระดับสังคม 2) การเกิดกลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ 3) การก่อรูปของอุดมการณ์ร่วมของสังคม และ ยุทธศาสตร์ของกลุ่ม เน้นการประชุมแบบเสวนา เพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาร่วมกัน (3) บทบาทของกลุ่มได้แก่ การพัฒนาความเป็นพลเมือง เป็นขบวนการการเมืองภาคพลเมือง และเป็นกลไกการพัฒนาสังคม (4) ผลกระทบจากการจัดตั้งกลุ่มคนรักเมืองเพชร ได้แก่ ทำให้ภาครัฐต้องปรับการใช้อำนาจหน้าที่ในการ สั่งการ และส่งผลให้เกิดกลุ่มองค์กรภาคประชาชนต่างๆ มากมาย (5) ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนของการรวมกลุ่มคนรักเมืองเพชร ได้แก่ แกนนำเป็นผู้มีชื่อเสึยงและมีความคุ้นเคยกับคนในกลุ่มมาก่อน ปัจจัยที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคของการรวมกลุ่มคนรักเมืองเพชร ได้แก่ รัฐครอบงำสื่อ ส่งผลให้ประชาชนขาด องค์ความรู้ด้านประชาสังคม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/919
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib107677.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons