กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9201
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The requirement of electronics document file of teachers Faculty of Arts Chulalongkorn University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทภัค นามวงศ์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
แฟ้มผลงานทางการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์
แฟ้มผลงานทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ของอาจารย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 275 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ของอาจารย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่าความต้องการการใช้แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมของอาจารย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยในแต่ละด้านมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนี้ (1) ด้านวัตถุประสงค์ คือเพื่อรวบรวมผลงานของอาจารย์ด้านการเขียนตำราและงานวิจัย (2) ด้านประโยชน์ของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ คือเป็นแหล่งที่ให้ข้อมูลในการประเมินผลงานของอาจารย์ (3) ด้านการจัดทำแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรมี คือ ประวัติอาจารย์เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน ภาระงานอาจารย์เกี่ยวกับที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ การพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการประชุมทางวิชาการ และการเข้าร่วมงานบริการสังคม (4) ด้านขั้นตอนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน คือควรมีขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ตารางสอน และการแต่งตำรา ส่วนการจัดทำใช้ระยะเวลาในการจัดทำ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (5) ด้านโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบหน้าจอของแฟ้มสะสมงาน คือ โปรแกรมประมวลคำ Microsoft Word และส่วนด้านการออกแบบหน้าจอทางเทคนิคที่ควรมี คือการลงทะเบียนใส่รหัส Username หน้าโฮมเพจ (หน้าแรก) มีชื่อของฐานข้อมูล ของอาจารย์ ผู้จัดทำพื้นสีหน้าจอเป็นสีเทาซึ่งเป็นสีประจำคณะอักษรศาสตร์ เมนูหลักที่ควรมี คือหัวข้องานบริการสังคม เมนูรองที่ควรมี คือประวัติส่วนตัวของอาจารย์ การออกแบบ หน้าจอควรอยู่ในรูปแบบเว็บไซต์ ส่วนการเข้าใช้ให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใช้ในแฟ้มสะสมงานทางอิเล็กทรอนิกส์ (6) ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ คืออาจารย์ขาดทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ และ (7) ด้านข้อเสนอแนะในการจัดทำแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ คือควรให้มีการทดลองใช้และทำแบบประเมินอีกครั้งเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9201
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151056.pdf11.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons