Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9207
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถํ้าth_TH
dc.contributor.authorธนวัฒน์ อินต๊ะแสน, 2529-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-29T03:06:48Z-
dc.date.available2023-08-29T03:06:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9207en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการรายงานการทำธุรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการรายงานธุรกรรม การบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรม และการเปิดเผยข้อมูลการรายงานธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำผลการวิเคราะห์มากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย ประมวลกฎหมาย คำพิพากษาของศาล วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ ข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการรายงานการทำธุรกรรมพบว่า การที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องบันทึกข้อเท็จจริงเมื่อมีการทำธุรกรรม เเต่มิได้มีการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายและแบบที่ชัดเจน ส่งผลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขาดข้อมูลการทำธุรกรรมเพื่อใช้ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน นอกจากนี้ การห้ามมิให้ผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 และมาตรา 16 เปิดเผยข้อมูลหรือกระทำด้วยประการใดๆ อันอาจทำให้ลูกค้าหรือบุคคลภายนอกทราบเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อาจส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานเชิงธุรกิจของผู้มีหน้าที่รายงานดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายในการติดตามเส้นทางทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้นจึงสมควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการฟอกเงิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการรายงานการทำธุรกรรมth_TH
dc.title.alternativeProblems regarding the enforcement of the anti-money laundering act in part of the transaction reportingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the independent study: problems regarding the enforcement of the Anti-Money Laundering Act in part of the transaction reporting is to study about the concepts and the theories relating to the transaction reporting, facts relevant to transaction recording and information involving transaction reporting disclosing according to the Anti-Money Laundering Act in Thailand and in foreign countries in order to adopt the analysis to guideline the solutions and suggest amending the law for the effectiveness of the enforcement of the Anti-Money Laundering Act as well as the harmony with currently social state. /t This independent study is the qualitative research by means of the documentary research from books, textbooks, academic articles, the research reports, code of law, judgments, theses, independent studies, electronic data and internet including the relating laws both in Thailand and in foreign countries. Result of the problems regarding the enforcement of the Anti-Money Laundering Act in part of the transaction reporting research: according to the AntiMoney Laundering Act B.E.2542, the financial institutions has a responsibility to file a report of the transaction involving cash in an amount from 2 million baht with the Anti-Money Laundering Office and the person who is engaged in a business according to section 16 shall record the facts when the transaction occurs. However, the Act has no clear provisions of law or forms rendering the Anti-Money Laundering Office lack of the information about the transaction for the purpose of the examination and proceeding the assets involved in an offense of money laundering. Moreover, the person subjecting to the reporting rules under section 13 and section 16 is prohibited from disclosing the information or acting by any manners which might make the client or the third party known the transaction reporting to the Office causing the inconsistency with the activities involving business of the person who has the duty to report. Therefore, for the purpose of effectiveness of the officers’ performance and the law enforcement in tracing the financial route and along with the international standard, the Anti-Money Laundering Act B.E.2542 shall be amended.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161980.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons