Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9207
Title: | ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการรายงานการทำธุรกรรม |
Other Titles: | Problems regarding the enforcement of the anti-money laundering act in part of the transaction reporting |
Authors: | วรรณวิภา เมืองถํ้า ธนวัฒน์ อินต๊ะแสน, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การฟอกเงิน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการรายงานการทำธุรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการรายงานธุรกรรม การบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรม และการเปิดเผยข้อมูลการรายงานธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำผลการวิเคราะห์มากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย ประมวลกฎหมาย คำพิพากษาของศาล วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ ข้อมูลทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ตลอดจนบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนของการรายงานการทำธุรกรรมพบว่า การที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ต้องบันทึกข้อเท็จจริงเมื่อมีการทำธุรกรรม เเต่มิได้มีการกำหนดบทบัญญัติของกฎหมายและแบบที่ชัดเจน ส่งผลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขาดข้อมูลการทำธุรกรรมเพื่อใช้ในการตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน นอกจากนี้ การห้ามมิให้ผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 และมาตรา 16 เปิดเผยข้อมูลหรือกระทำด้วยประการใดๆ อันอาจทำให้ลูกค้าหรือบุคคลภายนอกทราบเกี่ยวกับการรายงานธุรกรรมไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อาจส่งผลกระทบให้เกิดความไม่สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานเชิงธุรกิจของผู้มีหน้าที่รายงานดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายในการติดตามเส้นทางทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้นจึงสมควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9207 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_161980.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License