กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9216
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตสัมเขียวหวานปลอดภัยของเกษตรกรอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guideline for the extension in safe tangerine production by the farmers in Chiang Khong District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
หทัยรัตน์ ปิงคำ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ส้มเขียวหวาน--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานปลอดภัย 2) ความรู้ แหล่งความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัยของเกษตรกร 3) การผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัยของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัยของเกษตรกร 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัยของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.51 ปี แรงงานภายในครัวเรือนเฉลี่ย 3.48 คน มีประสบการณ์ปลูกส้ม เฉลี่ย 11.50 ปี จำหน่ายส้มเขียวหวาน เฉลี่ย 27.23 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ จากการผลิตส้มเขียวหวานทั่วไป เฉลี่ย 282,633.88 บาทต่อปี และรายได้ จากการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัย เฉลี่ย 130,967.21 บาทต่อปี 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ในการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้ต่างๆ ในระดับมาก โดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์ในระดับมาก ด้านความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่อง การผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัยทำให้มีความระมัดระวังในการใช้สารเคมีมากขึ้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการผลิตส้มเขียวหวานแบบปลอดภัยทำให้โรคและแมลงศัตรูพืชลดลง ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น 3) เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติในการปลูก พื้นที่ปลูกเฉลี่ย 9.25 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกส้มพันธุ์สีทอง เก็บเกี่ยวส้มปี ละ 1 ครั้ง ต้นทุนเฉลี่ย 59,903.30 บาทต่อไร่ต่อปี รายได้เฉลี่ย 40,621.71 บาทต่อไร่ และส่วนใหญ่เกษตรกรปฏิบัติในการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัย ในระดับมากที่สุด 4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตส้มเขียวหวานปลอดภัย ได้แก่เพศและความรู้ 5)ปัญหาของเกษตรกร ได้แก่ ด้านการตลาด การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมให้เพิ่มช่องทางการตลาดและ ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นให้เพิ่มวิธีการส่งเสริม การสนับสนุนและด้านความรู้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9216
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168414.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons