Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9217
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุลth_TH
dc.contributor.authorธีรพงษ์ เสวนาพรth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-29T03:46:38Z-
dc.date.available2023-08-29T03:46:38Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9217en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ (2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ (3) ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ของประเทศไทยและต่างประเทศ (4) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2537 เพื่อควบคุมการใช้บัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ให้มีความเหมาะสมสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทั้งตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเห็นของนักวิชาการสาขาต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมารวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ เป็นแพทย์ทางเลือกประเภทหนึ่ง คือ การใช้สมุนไพรบำบัด ซึ่งผู้ที่หันมาใช้กัญชาในการรักษามักเป็นผู้ที่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว และเชื่อว่ากัญชาเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ บรรเทาอาการหรือทำให้หายจากการเจ็บป่วย โดยรูปแบบของกัญชาที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดคือน้ำมันกัญชา นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่สำคัญคือ การลดทอนความเป็นอาชญากรรมของกัญชา เพราะถึงแม้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 5 ที่มีโทษตามกฎหมาย แต่ก็ไม่นำมาใช้บังคับกับกรณีของการใช้กัญชาทางการแพทย์ (2) ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ขาดความชัดเจนในขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องหลักเกณฑ์ของผู้ป่วยที่สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ หลักเกณฑ์การครอบครองกัญชาทางการแพทย์และหลักเกณฑ์การควบคุมการโฆษณากัญชา (3) การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย พบว่า มลรัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่นำกัญชามาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งกัญชาเพื่อการสันทนาการและกัญชาทางการแพทย์ โดยกำหนดให้ประชาชนที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ที่ทำการรักษาว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อเสพ โดยมีวัตถุประสงค์ใช้เพื่อการแพทย์ได้ ขณะที่มลรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย กำหนดให้แพทย์ที่มีความประสงค์จะเป็นผู้สั่งจ่ายยาทางการแพทย์ขึ้นทะเบียน ซึ่งระบบของเครือรัฐออสเตรเลียมีความใกล้เคียงกับการควบคุมกัญชาทางการแพทย์ตามบทกฎหมายไทย (4) แนวทางการปรับปรุงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ควรกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพ วิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พิจารณาสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์ได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้ของกัญชาในทางการแพทย์ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์และเฉพาะข้อบ่งใช้ที่มีรายงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าการใช้กัญชาอาจจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ควรกำหนดให้การครอบครองไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัวมีกำหนด 30 วัน โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองซึ่งกำหนดวันเวลาเริ่มต้นและวันเวลาสิ้นสุดการครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อย่างชัดเจน และควรกำหนดให้การประชุม สัมมนา เสวนาวิชาการหรือการให้ความรู้ เป็นการโฆษณากัญชาทางการแพทย์ประเภทหนึ่งที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะใช้โฆษณาได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกัญชา--การใช้รักษา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์th_TH
dc.title.alternativeLegal problems concerning controlling to use the cannabis for medical purposesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study are (1) studying on concept, theory, and background of the controll of cannabis using for a medical purpose (2) studying on the problem regarding the controll of cannabis use for a medical purpose (3) studying and analyzing by comparison the measures of cannabis use controlled for the medical purpose between Thailand and a foreign countries and (4) studying on the guideline to enhance the provision in the Narcotic Act B.E. 2522 to control the cannabis’ use for medical purpose leading to appropriately and be able to execute effectively This independent study is a qualitative research by documents in Thai and foreign languages, laws, books, articles, and related research including the opinions of various academic branches in order to bring the data to compile, analyze, create knowledge The result of this studying shows that: (1) The concept of cannabis used for medical purpose is one of alternative medicine, in other words, the herb’s therapy which a person cures by cannabis is frequently found in a person who is unable to treat by conventional medicine and also believes that the cannabis can relieve himself from symptom or recuperate from illness. The popular form of cannabis used is cannabis oil. The essential theory furthermore in this matter is the criminal discrimination of cannabis, although the cannabis is a narcotic type 5 under the law, it not be applied in the case of cannabis for medical purpose. ( 2 ) the problem on controlling of cannabis use for medical purpose is deficient clarity regarding the limitation of law enforcement in the term of suitable patient using the cannabis for medical purpose, in the term of cannabis possession and in the term of cannabis advertisement (3) the comparison of study with the law in Alaska, USA and New South Wales, Australia appeared that in Alaska, USA is broadly used of cannabis, including for entertainment as well as medical purpose. It provides that the person certified by medical practitioner appropriately qualifying for cannabis used for medical purpose can possess the cannabis for medical purpose only. On the other hand New South Wales, Australia, determines that the medical practitioner desiring to prescript the cannabis for medicine use has to register himself with the authorities. This system is thus similar to the controlling cannabis’ use in Thailand. (4) For the suggestion to improve the Narcotic Act B.E. 2522, it should impose that medical profession, pharmaceutical profession and dental profession having a discretion to prescript the cannabis for medical use solely for indicated patient of cannabis’ use in accompany with empirical evidence and indicated research or academic evidence supporting that cannabis is beneficial diet. Additionally, criteria of possessing cannabis for the medical purpose should not be exceeding quantity where it is necessary, to cure himself, for 30 days together with prescription or certificate stated duration of possession narcotic type 5 precisely. In addition, the conference, seminar, academic seminar, or any educational form regarded as one of the advertisement of cannabis for medical use shall be permitted prior to publicizing.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT _164013.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons