กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9217
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems concerning controlling to use the cannabis for medical purposes |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล ธีรพงษ์ เสวนาพร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กัญชา--การใช้รักษา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความเป็นมาของการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ (2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ (3) ศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ของประเทศไทยและต่างประเทศ (4) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2537 เพื่อควบคุมการใช้บัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ให้มีความเหมาะสมสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากเอกสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ทั้งตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความเห็นของนักวิชาการสาขาต่างๆ เพื่อนำข้อมูลมารวบรวม เรียบเรียง วิเคราะห์ให้เกิดองค์ความรู้ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ เป็นแพทย์ทางเลือกประเภทหนึ่ง คือ การใช้สมุนไพรบำบัด ซึ่งผู้ที่หันมาใช้กัญชาในการรักษามักเป็นผู้ที่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว และเชื่อว่ากัญชาเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ บรรเทาอาการหรือทำให้หายจากการเจ็บป่วย โดยรูปแบบของกัญชาที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดคือน้ำมันกัญชา นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่สำคัญคือ การลดทอนความเป็นอาชญากรรมของกัญชา เพราะถึงแม้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 5 ที่มีโทษตามกฎหมาย แต่ก็ไม่นำมาใช้บังคับกับกรณีของการใช้กัญชาทางการแพทย์ (2) ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ขาดความชัดเจนในขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องหลักเกณฑ์ของผู้ป่วยที่สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ หลักเกณฑ์การครอบครองกัญชาทางการแพทย์และหลักเกณฑ์การควบคุมการโฆษณากัญชา (3) การศึกษาครั้งนี้ ทำการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย พบว่า มลรัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่นำกัญชามาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งกัญชาเพื่อการสันทนาการและกัญชาทางการแพทย์ โดยกำหนดให้ประชาชนที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ที่ทำการรักษาว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมใช้กัญชาทางการแพทย์สามารถมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อเสพ โดยมีวัตถุประสงค์ใช้เพื่อการแพทย์ได้ ขณะที่มลรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย กำหนดให้แพทย์ที่มีความประสงค์จะเป็นผู้สั่งจ่ายยาทางการแพทย์ขึ้นทะเบียน ซึ่งระบบของเครือรัฐออสเตรเลียมีความใกล้เคียงกับการควบคุมกัญชาทางการแพทย์ตามบทกฎหมายไทย (4) แนวทางการปรับปรุงบทบัญญัติของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ควรกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพ วิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พิจารณาสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์ได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีข้อบ่งใช้ของกัญชาในทางการแพทย์ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์และเฉพาะข้อบ่งใช้ที่มีรายงานวิจัยหรือหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนว่าการใช้กัญชาอาจจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ควรกำหนดให้การครอบครองไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้รักษาโรคเฉพาะตัวมีกำหนด 30 วัน โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองซึ่งกำหนดวันเวลาเริ่มต้นและวันเวลาสิ้นสุดการครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อย่างชัดเจน และควรกำหนดให้การประชุม สัมมนา เสวนาวิชาการหรือการให้ความรู้ เป็นการโฆษณากัญชาทางการแพทย์ประเภทหนึ่งที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะใช้โฆษณาได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9217 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT _164013.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License