กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9219
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of resurrecting the criminal case for reconsideration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินตนา ชุมวิสูตร
ปริเยศ ระยารักษ์, 2527
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ (2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับหลักกฎหมายที่ใช้ในการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในการดำเนินคดีอาญา ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนการยุติธรรมโดยรัฐ และ (3) ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ และเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยวิธี การค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น วิทยานิพนธ์ หนังสือ ตำรา วารสาร ตัวบทกฎหมาย ผลงานหรือรายงานการวิจัย บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทางกฎหมาย และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาประกอบการวิเคราะห์เพื่อประเมินผลและข้อเสนอแนะต่อไป ผลจากการศึกษา พบว่า (1) การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นั้น เป็นมาตรการในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายให้กับจำเลยผู้ซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ต้องรับโทษทางอาญาที่เกิดจากการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ผิดพลาดหรือไม่สมบูรณ์ ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษทั้ง ๆ ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ (2) พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ โดยจำกัด เป็นเหตุให้การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นไปได้ยาก และใช้เวลานาน (3) การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาเป็นมาตรการในการเยียวยาความเสียหายจากคำพิพากษาที่เกิดจากความผิดพลาดหรือความไม่สมบูรณ์ในการดำเนินการทางยุติธรรมของรัฐ ดังนั้น เงื่อนไขในการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่จึงต้องเป็นการดำเนินการด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรมแก่ประชาชน ผู้ศึกษาเห็นควรที่จะมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 เพื่อให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน เป็นการรักษาความเป็นธรรม และดำรงไว้ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นกลไกสำหรับแก้ไขข้อผิดพลาด และเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริสุทธิ์ได้อย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9219
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_164451.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons