กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9230
ชื่อเรื่อง: แผนธุรกิจของอุตสาหกรรมซ่อมเรือ : กรณีศึกษาบริษัท สหวิริยา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Business plan of the ship repair industry : a case study of Sahaviriya Engineering Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เนตรนภา นันทยานนท์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทสหวิริยาเอ็นจิเนียริ่ง
อุตสาหกรรมซ่อมเรือ
ธุรกิจ--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
เรือ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์อุตสาหกรรมการซ่อมเรือ (2) กำหนดกลยุทธ์ของแผนธุรกิงอุคสาหกรรมซ่อมเรือโดยกรณีศึกษา บริษัท สหวิริยา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ใช้การศึกษาหาข้อมูลจากวรรณกรรรมที่เกี่ยวข้อง ค้นคว้าข้อมูอจากเอกสาร หนังสือ พจนานุกรม สารานุกรม ปริทัศน์งานวิจัย รายงานผลประจำปี บทความ วารสาร แผนพัฒนาอุดสาหกรรมและแหล่งความรู้ อื่นๆ ได้แก่ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ และเว็บไซต์การซ่อมเรือทั้งในและต่างประเทศ การหาข้อมูลจากท่าเรือประจวบ ในอำเภอบางสะพาน และนำข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์ตามหลักวิชาที่ได้ศึกษา เพื่อจัดทำแผนธุรกิจของอุตสาหกรรมซ่อมเรือ ผลการศึกษาพบว่า (1) การวิเคราะห์อุตสาหกรรมซ่อมเรือมีการเติบโดยอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือของโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ความต้องการซ่อมเรือในปี 2007-2015 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 109.89% ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ มีจุดแข็งด้านแรงงานช่างฝีมือที่สามารถทำการต่อเรือและซ่อมเรือได้มาตรฐาน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐสามารถสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตไปได้ในรูปแบบของสายโซ่อุปสงค์ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการซ่อมเรือซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น การเข้าสู่อุตสาหกรรมซ่อมเรือต้องใช้เงินลงทุนที่สูงต้องประกอบด้วย ทำเรือน้ำลึก อู่ซ่อมเรือที่ตามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ ได้มีเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ มีความชำนาญด้านวิศวกรรม ซึ่งบริษัท สหวิริยา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด มีความพร้อมเหมาะสมในการลงทุน (2) การกำหนดกลยุทธ์ของแผนธุรกิจอุตสาหกรรมซ่มเรือให้บรรลุเป้าหมายประกอบด้วย 1) ระดับองค์กรใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโตสร้างความแข็งแกร่งพื้นฐานในทุกด้านทางวิศวกรรม2) ระดับธุรกิจใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นด้วยต้นทุนที่ต่ำผสมผสานการผลิตด้วยเทคโนโลยีเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถรองรับงานซ่อมได้ครบวงจร 3) ระดับปฏิบัติการได้วางแผนการตลาดใช้ความโดดเด่นด้านราคา และบริการที่รวดเร็วในรูปแบบขายตรงและผ่านบริษัทนายหน้า แผนการผลิตและการบริการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยนำเข้าข้อมูลทางออนไลน์เชื่อมโยงกับระบบข้อมูลกลาง แผนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ใช้การแบ่งหน้าที่ครอบคลุมงานตามแผนของบริษัท แผนการเงินใช้จัดหาแหล่งเงินทุนจากธนาคาร และจากบริษัทใพกลุ่มเครือสหวิริยาโดยประมาณการรายใด้ไว้ 10 ปี ลงทุนในสินทรัทย์ 450 ล้านบาท วิเคราะห์ความเป็นไปใด้ในการลงทุนได้ ปัจุบันฤทธิ 834.91 สำนบาท ที่อัตราคิดลค % ต่อปี มีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 14.91 ต่อปี และระยะเวลาคืนทุน 6.04 ปี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9230
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_123155.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons