Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/924
Title: | การวิเคราะห์คุณภาพบริการสถานพยาบาลสังกัดรัฐวิสาหกิจ |
Other Titles: | Services quality analysis of medical service division of state enterprise |
Authors: | พาณี สีตกะลิน บังอร วรรณศิริ, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุรเดช ประดิษฐบาทุกา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สถานพยาบาล การบริการสถานพยาบาล |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพ บริการ ตามระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000:2000 ของสถานพยาบาลสังกัดรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง (2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพบริการตามระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO9000:2000 ของสถานพยาบาล สังกัดรัฐวิสาหกิจ ในมุมมองของผู้ให้บริการระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน และ (3) เปรียบเทียบระดับคุณภาพบริการตามระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO9000:2000 ระหว่างสถานพยาบาล สังกัด รัฐวิสาหกิจที่ 1 กับสถานพยาบาล สังกัด รัฐวิสาหกิจที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของสถานพยาบาล สังกัดรัฐวิสาหกิจที่ 1 จำนวน 75 คน และบุคลากรของสถานพยาบาล สังกัดรัฐวิสาหกิจที่ 2 จํานวน 65 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์คุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Independent t-test statistic ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพบริการของสถานพยาบาล สังกัด รัฐวิสาหกิจทั้งสอง แห่งในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.49 และ 3.06 ตามลำดับ (2) การเปรียบเทียบระดับคุณภาพบริการของสถานพยาบาล สังกัด รัฐวิสาหกิจที่ 1 ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) เพียงด้านเดียว คือ ด้านผลลัพธ์การปฏิบัติงาน และในสถานพยาบาล สังกัด รัฐวิสาหกิจที่ 2 พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) การเปรียบเทียบระดับคุณภาพบริการของสถานพยาบาล สังกัดรัฐวิสาหกิจที่ 1 กับสถานพยาบาล สังกัด รัฐวิสาหกิจที่ 2 พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) ทุกด้าน ข้อเสนอแนะในการวิจัย สำหรับการพัฒนาคุณภาพบริการสถานพยาบาล สังกัดรัฐวิสาหกิจที่ 2 พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) ทุกด้าน ข้อเสนอแนะในการวิจัย สําหรับการพัฒนาคุณภาพบริการสถานพยาบาล สังกัดรัฐวิสาหกิจคือหน่วยงานจะต้องการส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ควรมีการวิเคราะห์ต้นทุนในการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบในการประเมินคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพบริการที่ยั่งยืน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/924 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License