กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9251
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The utilization of instructional media for senior High School Students of Triamudomsuksanomklao Nonthaburi School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปณิฏฐา แสงทอง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 411 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านประเภทของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือแบบเรียน จุลสาร วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิสก์ / สื่อออนไลน์ นักเรียนมีการใช้เครื่องฉาย สื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ นักเรียนมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการทดลอง วิทยาศาสตร์ สื่อกิจกรรม นักเรียนมีการจัดนิทรรศการ / สัปดาห์วิทยาศาสตร์ สื่อบุคคล คือ ครูประจำวิชา และประเภทสื่อสถานที่ คือ น้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (2) ด้านวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนใช้เพื่อศึกษาเนื้อหาของวิชา ที่เรียน (3) ด้านเนื้อหาสาระของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่า สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการตรงกับเนื้อหาในหลักสูตร (4) ด้านวิธีการนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าควรนำเสนอด้วยการใช้เทคโนโลยี (5) ด้านกิจกรรมประกอบการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการแบ่งกลุ่มการเรียนรู้ในจำนวนที่เหมาะสม (6) ด้านองค์ประกอบของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าสื่อการสอนวิทยาศาสตร์มีการออกแบบสวยงามน่าใช้ น่าสนใจ และ (7) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าเนื้อหามีประโยชน์ เป็นแหล่งความรู้และสืบค้นข้อมูลไต้เป็นอย่างดี และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ ด้านปัญหาและอุปสรรคของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องสื่อการสอนวิทยาศาสตร์มีปริมาณไม่เพียงพอต่อนักเรียน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9251
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143749.pdf15.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons