Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9251
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปณิฏฐา แสงทอง, 2531-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-29T08:12:03Z-
dc.date.available2023-08-29T08:12:03Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9251-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 411 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านประเภทของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือแบบเรียน จุลสาร วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิสก์ / สื่อออนไลน์ นักเรียนมีการใช้เครื่องฉาย สื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ นักเรียนมีการใช้อุปกรณ์ประกอบการทดลอง วิทยาศาสตร์ สื่อกิจกรรม นักเรียนมีการจัดนิทรรศการ / สัปดาห์วิทยาศาสตร์ สื่อบุคคล คือ ครูประจำวิชา และประเภทสื่อสถานที่ คือ น้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (2) ด้านวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนใช้เพื่อศึกษาเนื้อหาของวิชา ที่เรียน (3) ด้านเนื้อหาสาระของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่า สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการตรงกับเนื้อหาในหลักสูตร (4) ด้านวิธีการนำเสนอสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าควรนำเสนอด้วยการใช้เทคโนโลยี (5) ด้านกิจกรรมประกอบการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการแบ่งกลุ่มการเรียนรู้ในจำนวนที่เหมาะสม (6) ด้านองค์ประกอบของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าสื่อการสอนวิทยาศาสตร์มีการออกแบบสวยงามน่าใช้ น่าสนใจ และ (7) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความคิดเห็นว่าเนื้อหามีประโยชน์ เป็นแหล่งความรู้และสืบค้นข้อมูลไต้เป็นอย่างดี และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ ด้านปัญหาและอุปสรรคของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องสื่อการสอนวิทยาศาสตร์มีปริมาณไม่เพียงพอต่อนักเรียนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อth_TH
dc.titleการใช้สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรีth_TH
dc.title.alternativeThe utilization of instructional media for senior High School Students of Triamudomsuksanomklao Nonthaburi Schoolen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to investigate the utilization of instructional media for senior high school students of Triamudomsuksanomklao Nonthaburi school. The research population comprised of 411 students at senior high school during the second semester of 2013 academic year. The applied research method was a questionnaire. Statistics for data analysis used were percentage, mean, and standard deviation. Research findings revealed the overall of instructional media for senior high school students of Triamudomsuksanomklao Nonthaburi School was on the advanced level with the use of mean ratings were as follows: (1) The type of teaching science materials on the higher level with the aids of multi-media tools, such as electronic media / online (optical) types, textbooks, booklet, journals. These tools and activities were experimental through exhibitions, simulations during Science events on a “Media Centered” learning activities is laboratory area. (2) The student’s level is need to study the contents of the subjects for the purpose of teaching science. (3) The content of science learning is produced by the students from the laboratory output matched in the content of the course. (4) The method of presentation through the level of technology. (5) In return for recognition, the student’s level is divided into groups to maximize the learning. (6) The composition of the science materials were designed with the highest interest. (7) The benefits of teaching/learning science materials were the source of knowledge and information search as well, and the problems and difficulties of teaching science materials were in the middle level and can suffice by teaching science to students.en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143749.pdf15.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons