กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9277
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของพนักงานต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Staff's opinion on factors affecting the learning organization : a case study of the Office of Province Election Commission in the Northeastern of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณภัทร อินทร์แผลง, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเรียนรู้--การจัดการ
องค์กร
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นพนักงานตามลักษณะส่วน บุคคลที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 192 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานจะใช้สถิติ ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี แอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นของพนักงานต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในภาพรวมอยู่ในระดับที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สูง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับที่ มีผลต่อการเป็นองค์การเรียนรู้สูง ทั้ง 5 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ด้านการให้อำนาจและความสามารถให้กับบุคคล ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารความรู้ (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในภาพรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ประเภทตำแหน่งงาน อายุการทำงาน ระดับรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือในภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9277
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130361.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons