กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9288
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้คุณภาพบริการศูนย์บริการทางการแพทย์ของพนักงานธนาคารออมสิน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Perception of service quality at Medical Center of Government Savings Bank Employees |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีธนา บุญญเศรษฐ์ ณัฐพร สุขพัฒนานรากุล, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | ธนาคารออมสิน--พนักงาน การบริการทางการแพทย์ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้คุณภาพบริการศูนย์บริการ ทางการแพทย์ของพนักงานธนาคารออมสิน (2) เปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพบริการศูนย์บริการทาง การแพทย์ของพนักงานธนาคารออมสิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพบริการศูนย์บริการทางการแพทย์ธนาคารออมสิน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานธนาคารออมสินที่เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการ ทางการแพทย์ธนาคารออมสินเฉลี่ยเดือนละ 2,898 คนได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างซึ่งสุ่มตัวอย่างเชิงระบบจำนวน 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าความลี่ ค่าเฉลี่ย ใช้สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบผลต่าง นัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ระคับการรับรู้คุณภาพบริการศูนย์บริการทางการแพทย์ของพนักงานธนาคารออมสินทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง โดยลำดับแรก คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ รองลงมา คือ ด้านการตอบสนองของการให้บริการ ด้านความเชื่อถือ ไว้วางใจ ด้านการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจ ตามลำดับ (2) พนักงานธนาคารออมสินที่มีเพศ อายุ และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพ บริการของศูนยบริการทางการแพทย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตทระดับ 0.05 ส่วนพนักงาน ที่มีระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนครั้งที่มารับบริการแตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการของศูนย์บริการทางการแพทย์ไม่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพบริการของศูนย์บริการทางการแพทย์คือ ต้านความเห็นอกเห็นใจ ควรจัดให้มีการ ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9288 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
148389.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License