Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9289
Title: พฤติกรรมการบริโภคและการรับรู้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของร้านกาแฟสตาร์บัคส์โดยวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumer behavior and marketing mix perception on Starbucks Coffee Shop by teenagers in Bangkok
Authors: สุรีย์ เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐกานต์ พุทธรักษ์พงศ์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ร้านกาแฟ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิ
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าสตาร์บัคส์ โดยวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดของร้านกาแฟสตาร์ บัคส์โดยวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับ พฤติกรรมการบริโภคสินค้าสตาร์บัคส์โดยวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร และ (4) วิเคราะห์ความ แตกต่างของระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาด ตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือกลุ่มวัยรุ่นที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์ สตาร์บัคส์ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 15-24ปี ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรการคำนวณ แบบไม่ทราบจำนวนประชากรของ Cochran ได้จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบไคสแควร์ เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์จากร้านกาแฟสตาร์บัคส์โดย ส่วนใหญ่คือ นิยมบริโภคเครื่องดื่มปั่นมากที่สุด วัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการบริโภคเครื่องดื่ม ความถี่ในการบริโภค 1-2ครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายในการบริโภค 100-200 บาทต่อครั้งนิยมบริโภค วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 12.01 - 15.00 น. (2) ระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดต่อร้านกาแฟสตาร์บัคส์โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากในทุกด้าน (3) ปัจจัยส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าร้านกาแฟสตาร์บัคส์โดยวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์กับประเภทสินค้าที่นิยมบริโภคอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดั บ0.05 และ(4) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุและอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับการรับรู้ต่อส่วนประสมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9289
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148506.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons