กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9303
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของครูในวิชาพุทธศาสนาระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดลาดบัวขาว สังกัดสำนักงานเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions of students toward the use of instructional media by teachers in Buddhism course at primary level in Wat Lat Bua Khao School under Saphan Sung District Office, Bangkok Metropolitan Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระสุกิจ มีกุล, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
พุทธศาสนา--การสอนด้วยสื่อ
สื่อการสอน--การสำรวจทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของครูในวิชาพระพุทธศาสนาระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดลาดบัวขาว สังกัดสำนักงานเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดลาดบัวขาว สังกัดสำนักงานเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 200 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนของครูในวิชาพระพุทธศาสนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยโดยภาพรวมปรากฏว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่าครูมีการใช้สื่อการสอนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนของครู พบว่า (1) วัตถุประสงค์ในการใช้สื่อการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น เนื้อหาใน วิชาพระพุทธศาสนาเรื่องชาดกที่ครูใช้สื่อการสอนมาก (2) ประเภทของสื่อการสอนที่ใช้ คือ สื่อ สิ่งพิมพ์ใช้หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สื่อโสตทัศน์ใช้ของจริง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้วีดิทัศน์ สื่ออุปกรณ์ใช้คอมพิวเตอร์ และสื่อวิธีการใช้การสอนนอกสถานที่ (3) คุณภาพของสื่อการสอนที่มีคุณภาพมากกว่าสื่อประเภทอื่น คือ สื่อโสตทัศน์ (4) ชั้นตอนการใช้สื่อการสอนมี 3 ขั้น คือ ขั้นก่อนการใช้มีการจัดเตรียมห้องเรียนและที่นั่งเรียนสำหรับนักเรียน ขั้นระหว่าง การใช้ครูมีการสรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในสื่อการสอน ขั้นหลังการใช้ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อที่ใช้ในการสอน (5) ประโยชน์การใช้สื่อการสอนช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และ (6) ปัญหาการใช้สื่อการสอนครูใช้สื่อการสอนไม่หลากหลาย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9303
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151047.pdf12.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons