กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/930
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงในด้านความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวของชาวนาจังหวัดนครนายก : กรณีศึกษาตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Changes in beliefs and rites concerning the rice culture of farmers of Nakhon Nayok Province in the Nong-Saeng District of Amphoe Pak Phli in Nakhon Nayok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อำนาจ ศิลวัตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นริศรา วิรัชศิลป์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การทำนา--พิธีกรรม
ข้าว--คติชาวบ้าน
ข้าว--พิธีกรรม
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันด้านกายภาพเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิตของ ชาวนาตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก (2) การเปลี่ยนแปลงในด้านความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยว กับข้าวของชาวนา ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน 1 คน ชาวนา 9 คน ผู้นำชุมขน 5 คนรวมทั้งสิ้น 15 คนโดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารการสัมภาษณ์และการสังเกตแลัวอธิบายวิจัยในลักษณะ พรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพของตำบลหนองแสงในด้านเศรษฐกิจชาวนาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาไม่ มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินเพื่อทำไร่นา ในการทำนาปีและนาปรังอาศัยแรงงานคนและแรงงานเครื่องจักร เป็นการทำนาด้วยวิธีหว่านนั้าตม ต้องจ้างแรงงานทุกขั้นตอน นอกจากนึ้ยังทำสวน เลี้ยงสัตว์และรับจ้างทั่วไป ชาวนาส่วนใหญ่มีหนี้สิน เนึ่องจากมีค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ค่าปุ๋ย และค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช เดิมชาวนามีการแลกเปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็นกับข้าวเปลือกแทนเงิน ปัจจุบันชาวนานิยมซื้อข้าวมารับประทานใน ครัวเรือน เนี่องจากข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเกรดต่ำชาวนาจึงขายข้าวทั้งหมด และซื้อข้าวที่มีคุณภาพสูงกว่ามาบริโภค ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว การศึกษาของชาวนาส่วนใหญ่อ่านออกเขียนได้ ส่วนบุตรหลาน ชาวนาเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับแล้วส่วนใหญ่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น วิถีชีวิตชาวนาจะผูกพันอยู่กับพิธี กรรมการทำเกษตรกรรมที่เคยปฏิบัติกันมา (2) การเปลี่ยนแปลงในด้านความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวของ ชาวนา พบว่าเดิมมีการประกอบพิธีสู่ขวัญควาย พิธีทำบุญลาน พิธีแห่นางแมว พีธีสู่ขวัญข้าว พิธีบุญบั้งไฟและพิธี ทำบุญกลางบ้านแต่ปัจจุบันบางพิธีกรรมได้เลึอนหายไปเนื่องจากชาวนามีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้ในการทำนา การปฏิวัติเขียว การศึกษา การย้ายถิ่นฐาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน การยอมรับ เทคโนโลยีใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ไม่ได้รับการถ่ายทอดการทำนา ต้องเช่าที่ดินในการทำนา อาศัยแหล่งน้ำจากระบบ ชลประทานมากขึ้น เปลี่ยนจากแรงงานภายในครอบครัวหรึอเพื่อนบัานมาเป็นการจ้างแรงงาน แหล่งเงินทุนมา จากการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และเงินกู้นอกระบบ นำปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาใชัเกือบ ทั้งหมด นำสารเคมีมาใช้ในการปราบศัตรูพืชและวัชพืช ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเกษตรอำเภอ เปลี่ยนเครึ่องมึอ ในการทำนาจากแรงงานสัตว์มาเป็นเครึ่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงทำให้กระบวนการผลิตและการ แลกเปลี่ยนผลผลิตในการทำนาสะดวกรวดเร็วขึ้น ส่วนแนวโน้มในการประกอบอาชีพทำนาของคนรุ่นใหม่ ไม่ ต้องการประกอบอาชีพทำนาสืบทอดจากบรรพบุรุษเพราะต้องการประกอบอาชีพตามที่ตนได้ศึกษามา ผลจาก การเปลี่ยนแปลงความเชึ่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว ในบัจจุบันของชาวนาตำบลหนองแสงคงเหลือเพียงแต่พิธีสู่ ขวัญขาว พิธีทำบุญกลางบ้าน และประเพณีบุญบั้งไฟเท่านั้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/930
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (8).pdfเอกสารฉบับเต็ม10.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons