กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9331
ชื่อเรื่อง: ความต้องการของครูที่มีต่อศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโพธิ์เงิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for a learning center for the social studies, religion and culture learning area of teachers in Pho Ngoen educational quality development group school under under Roi Et Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพลินพิศ ศึกษา, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--การสอนด้วยอุปกรณ์
สังคมศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--การสอนด้วยสื่อ
การศึกษาอิสระ--ศึกษาศาสตร์
ศูนย์การเรียน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของครูที่มีต่อศูนย์การเรียนกลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโพธิ์เงิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโพธิ์เงินเงิน จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ครูผู้สอนของโรงเรียนในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโพธิ์เงิน มีความต้องการศูนย์การเรียนโดยภาพรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับความต้องการมากที่สุด 2 ด้านคือ (1) ด้านประโยชน์ของศูนย์การเรียนควรเน้นให้ครูสามารถจัดหาสื่อการสอนประกอบการเรียนการสอนได้สะดวก และรวดเร็วและเน้นให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด และ (2) ด้านการผลิต และจัดหาสื่อของศูนย์การเรียน ควรเน้นส่งเสริมให้ครูแสวงหาวิทยาการใหม่ ๆ และสื่อการสอนในชุมชนหรือท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับความต้องการมาก 8 ด้าน คือ (1) ด้านวัตถุประสงค์ควรเน้นวัตถุประสงค์ของห้องวัฒนธรรม และประชาธิปไตย และห้องเศรษฐกิจ พอเพียงด้านกิจกรรมควรเน้นกิจกรรมของห้องอาเซียน (2) ด้านแนวคิดการจัดตั้งศูนย์การเรียนควรเน้น ปณิธาน คือ มุ่งส่งเสริมให้ครูใช้สื่อที่ทันสมัย และตรงตามเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนด (3) ด้านการประเมินผลการเรียนของศูนย์การเรียนควรเน้นการประเมินผลการเรียน 8 ระดับเพื่อเทียบกับการเรียนปกติ (4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกภายในศูนย์การเรียนควรมีการให้บริการถ่ายเอกสาร (5) ด้านวิชาการควรเน้นส่งเสริมให้ครูมีโอกาสเข้าร่วมประชุมอบรมทางวิชาการ ด้านสื่อที่ให้บริการควรเน้นอุปกรณ์สื่อโสตทัศน์ (6) ด้านการเจ้าหน้าที่ของศูนย์การเรียนควรมีเจ้าหน้าที่ที่มาจากอาสาสมัครในชุมชนที่มีความรู้ทางสังคมศึกษา (7) ด้านสถานที่จัดตั้งศูนย์การเรียนต้องการให้มีการจัดตั้งบริเวณที่ทำการกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาโพธิ์เงิน และ (8) ด้านระเบียบการ ยืม-คืน สื่อของศูนย์การเรียนควรเน้นจำนวนสื่อที่ให้ยืม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9331
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143470.pdf11.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons